โรคหัวใจ เรื่องใกล้ตัว

Last updated: 7 มิ.ย. 2567  |  681 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคหัวใจ เรื่องใกล้ตัว

โรคหัวใจ เรื่องใกล้ตัว

หากพูดถึงโรคร้ายที่พรากชีวิตคนที่คุณรักไปในหลายๆ ครอบครัว ซึ่งหนึ่งในโรคแรกๆ ที่หลายๆ คนคงจะนึกถึงนั่นก็คือ “โรคหัวใจ” โดยวันที่ 29 ก.ย. ของทุกปี ถือได้ว่าเป็น “วันหัวใจโลก” จัดขึ้นเพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของโรคหัวใจ โดยพบว่าประชากรทั่วโลกเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจขาดเลือดเป็นอันดับ 1 !!

สำหรับผู้ชาย 40 ปีขึ้นไปและคุณผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน หากมีภาวะไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เป็นเบาหวาน ควรได้รับการตรวจหัวใจเป็นประจำทุกปี โดยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านหัวใจโดยเฉพาะ ซึ่งจะช่วยวางแผนป้องกันโรคหัวใจในระยะยาวได้ นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ซึ่งปฏิบัติได้ง่าย ๆ

โรคหัวใจ
หัวใจ อวัยวะที่ประกอบด้วยกล้ามเนื้อและภายในแบ่งออกเป็น 4 ห้อง มี 2 ห้องบน และ 2 ห้องล่าง อยู่บริเวณส่วนกลางใต้กระดูกหน้าอกค่อนข้างไปทางซ้ายเล็กน้อย หัวใจมีหน้าที่สูบฉีดโลหิต นำพาออกซิเจนและสารอาหารไปยังทุกส่วนของร่างกาย หัวใจซีกขวารับโลหิตที่ใช้แล้วจากร่างกาย แล้วสูบฉีดไปยังปอดเพื่อรับออกซิเจน โลหิตที่มีออกซิเจนสูงก็จะไหลกลับไปยังหัวใจด้านซ้าย และก็จะถูกสูบฉีดโลหิตผ่านเส้นเลือดใหญ่ไปยังทุกส่วนของร่างกาย

หัวใจเริ่มเต้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา กล้ามเนื้อหัวใจมีลักษณะพิเศษกว่ากล้ามเนื้ออื่น ๆ คือ สามารถปล่อยสัญญาณไฟฟ้าได้เอง ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจะเริ่มต้นจากหัวใจห้องขวาบน (Sinus Node) กระจายออกไปตามเซลล์นำไฟฟ้าในหัวใจ เริ่มจากห้องบนขวาไปห้องบนซ้ายและลงหัวใจห้องล่าง เมื่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจถูกกระแสไฟฟ้านี้ก็จะเกิดการหดสั้นลง ทำให้เกิดการบีบตัวของห้องหัวใจ

- ข้อเสี่ยงโรคหัวใจ เช็กก่อนสาย อันตรายใกล้ตัว
อายุ - การมีอายุมากขึ้นจะเพิ่มความเสี่ยงของหลอดเลือดแดงที่เสียหาย ตีบและกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง

เพศ - ผู้ชายทั่วไปมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจมากกว่า แต่สำหรับผู้หญิงจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นหลังหมดประจำเดือน

ปัจจัยทางพันธุกรรม - ครอบครัวที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหัวใจจะเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพ่อแม่เป็นโรคนี้ตั้งแต่อายุยังน้อย (ก่อนอายุ 55 ปีสำหรับผู้ชาย และ 65 สำหรับผู้หญิง)

สูบบุหรี่ - สารนิโคตินทำให้หลอดเลือดของคุณมีสภาวะหดตัว และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์สามารถทำลายเยื่อบุชั้นในได้ จึงทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ง่ายขึ้น โดยอาการหัวใจวายพบได้บ่อยในผู้สูบบุหรี่มากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่

การกินอาหารแบบผิดๆ - อาหารที่มีไขมันอิ่มตัว เกลือ น้ำตาล และคอเลสเตอรอลสูง สามารถทำให้เกิดโรคหัวใจได้

ความดันโลหิตสูง - ความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ อาจส่งผลให้หลอดเลือดแดงแข็งตัวและหนาขึ้นทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง

ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง - ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดที่สูงโดยเฉพาะชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL-cholesterol) สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

โรคเบาหวาน - โรคเบาหวานเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ

โรคอ้วน - น้ำหนักส่วนเกินมักทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจอื่น ๆ เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูงเพิ่มมากขึ้น
การขาดการออกกำลังกาย - มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ


ความเครียด - ปัจจัยเสี่ยงทางด้านจิตใจ อาจส่งผลไปกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติที่กระตุ้นหัวใจและหลอดเลือด เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดอาการของโรคหัวใจมากขึ้น

สุขภาพฟันที่ไม่ดี - พบรายงานแพทย์ถึงโรคฟันและเหงือกอักเสบสัมพันธ์กับการเกิดอาการของโรคหัวใจมากขึ้น

- อาการเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ ลองเช็คดู

•เจ็บแน่นๆ อึดอัดบริเวณกลางหน้าอก อาจจะเป็นด้านซ้ายหรือทั้งสองด้าน(มักจะไม่เป็นด้านขวาด้านเดียว)

•บางรายจะร้าวไปที่แขนซ้ายหรือทั้งสองข้างหรือจุกแน่นที่คอ บางรายเจ็บบริเวณกรามคล้ายเจ็บฟัน

• เหนื่อยง่าย เวลาออกกำลังกาย หรือเดินเร็ว ๆ

• หายใจเข้าได้ลำบาก อาจจะเป็นตลอดเวลา เป็นขณะออกกำลังกายหรือใช้แรงมาก

   หรือเป็นเฉพาะในเวลากลางคืน

• ไม่สามารถนอนราบได้เหมือนปกติ เพราะจะรู้สึกเหนื่อยเวลาหายใจ และอึดอัดตรงหน้าอก

   นอกจากนั้น อาจมีอาการหอบจนต้องตื่นขึ้นมาหอบกลางดึก

• เป็นลม หมดสติ ไม่ทราบสาเหตุ

• ขาหรือเท้าบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ

• ปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีลักษณะเขียวคล้ำ

- สภาวะต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อหัวใจ
  โรคหลอดเลือด เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ
  ปัญหาจังหวะการเต้นของหัวใจ (ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ)
  ภาวะบกพร่องของหัวใจแต่กำเนิด
  โรคลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว
  โรคของกล้ามเนื้อหัวใจ
  การติดเชื้อที่หัวใจ
  โรคของผนังหุ้มหัวใจ

การป้องกันโรคหัวใจ

ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหัวใจ สำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจแม้ไม่มีสาเหตุเฉพาะเจาะจงชัดเจน แต่ก็มีปัจจัยสิ่งหลายอย่างที่หากเราควบคุมได้ดีจะช่วยลดโอกาสโรคหลอดเลือดหัวใจลงได้มาก เช่น

  หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  ควบคุมความดันโลหิตไม่ให้สูงเกินมาตรฐาน ควบคุมคอเลสเตอรอล และเบาหวาน
  ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน
  รับประทานอาหารที่มีเกลือและไขมันอิ่มตัวต่ำ
  ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินมาตรฐาน
  ลดความเครียด
  ฝึกสุขอนามัยที่ดี

การรักษาโรคหัวใจ
ชนิดการรักษาจะขึ้นอยู่กับประเภทของโรคหัวใจ โดยทั่วไปมักประกอบด้วย การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจได้ด้วยการรับประทานอาหารสุขภาพ เช่น ลดการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง เกลือโซเดียมสูง ไขมันอิ่มตัวสูง คอเลสเตอรอลสูง รับประทานอาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัวโอเมก้า 3 แทน เพิ่มการรับประทานผักและผลไม้หลากหลายชนิด ออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อย 150-300 นาทีต่อสัปดาห์ งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

หากการปรับเปลี่ยงวิถีชีวิตเพียงอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ แพทย์อาจจ่ายยาเพื่อควบคุมโรคหัวใจหรือปัจจัยเสี่ยง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับประเภทของโรคหัวใจ การดูแลตัวเอง และสุขภาพคนที่คุณรัก เพื่อลดความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิด “โรคหัวใจ” จึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่พึงระลึกถึงไว้อยู่เสมอ ก่อนที่จะสายเกินไป..... 

 


รับคำแนะนำด้านสุขภาพ และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญฟรี
Line : https://line.me/R/ti/p/@283kqubv
Inbox : m.me/BioSynThailand
Youtube : https://bit.ly/3Fyj83C

เรียบเรียง : BioSyn Thailand
เครดิต : นพ.ไพศาล บุญศิริคำชัย
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านอายุรศาสตร์โรคหัวใจและหลอดเลือด
เฉพาะทางด้านการตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
https://shorturl.asia/ZF7wp

https://shorturl.asia/XV2ge

https://shorturl.asia/K04Jx

https://shorturl.asia/eKm8O

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้