Last updated: 7 มิ.ย. 2567 | 360 จำนวนผู้เข้าชม |
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลดลงของจุลินทรีย์ในลำไส้
ทุกวันนี้เป็นที่รู้กันดีว่าภายในลำไส้ของเรานั้นประกอบไปด้วยจุลินทรีย์จำนวนมากมายมหาศาล ทั้งจุลินทรีย์ชนิดที่ดีและจุลินทรีย์ชนิดที่ก่อโรค รวมไปถึงจุลินทรีย์ชนิดที่เป็นกลางที่ไม่เป็นพวกใคร แต่ “เลือกข้างผู้ชนะ” เสมอ หมายความว่าหากจุลินทรีย์ชนิดดีเป็นฝ่ายชนะ สุขภาพร่างกายโดยรวมก็จะแข็งแรงดี กลับกันถ้าจุลินทรีย์ชนิดไม่ดีเป็นฝ่ายชนะ ผลลัพธ์ก็จะเป็นในทางตรงกันข้าม ซึ่งไม่เพียงแต่ส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม แต่ยังส่งผลต่อสุขภาพจิตอีกด้วย
จุลินทรีย์ ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
จุลินทรีย์ ประกอบไปด้วย แบคทีเรีย (Bacteria) ไวรัส (Viruses) เชื้อรา (Fungi) ปรสิต (Parasites) โดยอยู่แบบพึ่งพาอาศัยกัน (Symbiosis) บางชนิดมีส่วนช่วยป้องกันโรค กระตุ้นกระบวนการเผาผลาญ การย่อยอาหาร และการขับถ่าย บางชนิดช่วยสร้างสารที่จำเป็นต่อร่างกาย เสริมระบบภูมิคุ้มกัน ขณะเดียวกันความผิดปกติของร่างกายบางครั้งอาจเกิดจากการที่จุลินทรีย์ขาดสมดุล
ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงทำการศึกษารหัสพันธุกรรมของจุลินทรีย์ที่เรียกว่า ไมโครไบโอม (Microbiome) เพื่อบ่งบอกชนิด จำนวน รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างจุลินทรีย์และอวัยวะในร่างกายมนุษย์ที่จุลินทรีย์เหล่านั้นอาศัยอยู่ ซึ่งมีประโยชน์ต่อการดูแลรักษาสุขภาพ ทั้งการทำนายโรค การเลือกวิธีรักษา รวมถึงการป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ประโยชน์ของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร
ด้วยความหลากหลายของจุลินทรีย์และจำนวนที่แตกต่างกัน จึงมีบทบาทสำคัญที่แตกต่างกันทั้งนี้ จุลินทรีย์ เเบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
1.จุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายหรือก่อโรค (Harmful/Pathogenic) ทำให้เกิดโรคได้โดยการสร้างสารพิษภายในร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรค เช่น
-เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ทําให้เกิดโรคในกระเพาะอาหาร เพิ่มความเสี่ยงโรคแผลกระเพาะอาหาร เนื้องอก และมะเร็งในกระเพาะอาหาร
-จุลชีพบริเวณลำไส้ใหญ่บางชนิด หรือ แบคทีเรียในลําไส้ ก็มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ลำไส้อักเสบเรื้อรัง รวมถึงการส่งผลให้เกิดภาวะอ้วน โรคหัวใจ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคไขมันพอกตับ โรคตับแข็ง และมะเร็งตับ
2.จุลินทรีย์กลุ่มส่งเสริมสุขภาพ (Health Promoting function) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ร่างกายต้องการ เช่น
-Lactobacillus ช่วยยับยั้งและป้องกันไม่ให้แบคทีเรียก่อโรคเจริญเติบโต
-Eubacteria / Bifidobacteria ช่วยสังเคราะห์สารอาหารที่ร่างกายต้องการ เป็นเกราะป้องกันเชื้อโรค กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และช่วยในการย่อยอาหารหรือการดูดซึมสารอาหาร
หากจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารไม่สมดุล จะส่งผลต่อสุขภาพต่างๆ ดังนี้
-อารมณ์แปรปรวน
-ภาวะซึมเศร้าหรือความวิตกกังวล
-ภาวะอ้วน
-โรคผิวหนัง เช่น กลาก
-โรคหัวใจและหลอดเลือด
-โรคเบาหวาน
-มะเร็ง
-โรคตับ
-ปัญหาสุขภาพช่องปาก เช่น ฟันผุ
การตรวจสมดุลจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร (Gut Microbiome)
แม้อาการบางอย่าง เช่น อาหารไม่ย่อย อารมณ์แปรปรวน และโรคผิวหนัง อาจบ่งบอกถึงความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร แต่ก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่นได้เช่นกัน ดังนั้น เพื่อให้แน่ใจว่าความเชื่อมโยงของอาการเหล่านี้สัมพันธ์กับความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร สามารถตรวจวิเคราะห์สมดุลจุลินทรีย์ได้
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้จุลินทรีย์ ลดลง
• การใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินจำเป็น
• การรับประทานอาหารที่มีใยอาหารต่ำ
• รับประทานอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง
• การสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์
• ภาวะเครียด
• ขาดการออกกำลังกาย
• พักผ่อนไม่เพียงพอ
• อยู่ระหว่างการรักษาด้วยยาบางชนิด
เมื่อโพรไบโอติกหรือจุลินทรีย์ที่ดีในร่างกายมีจำนวนลดน้อยลง จะทำให้ร่างกายถูกโจมตีจากเชื้อก่อโรคได้ง่ายยิ่งขึ้น ส่งผลเสียต่อสุขภาพต่างๆ ทั้งความผิดปกติของลำไส้ ที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก ท้องเสีย ผิวพรรณไม่สดใส และโรคต่างๆที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง
ปัจจัยที่ส่งผลให้จุลินทรีย์ เพิ่มขึ้น
• สมาคมระหว่างประเทศ IASD แนะนำให้ผู้ใหญ่นอนหลับ 6-8 ชั่วโมง โดยพบว่าการนอนหลับอย่างเพียงพอจะช่วยให้ร่างกายได้พักผ่อนและลดความเครียด ช่วยให้สภาพแวดล้อมในลำไส้มีสุขภาพดีกว่าการนอนน้อยหรือนอนไม่หลับเป็นประจำ
• ออกกำลังกายเป็นประจำมากกว่า 30 นาทีต่อวัน 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของลำไส้ ลดการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่เป็นอันตรายและยังช่วยเพิ่มความหลากหลายของจุลินทรีย์
• ลดการบริโภคเนื้อสัตว์แปรรูป อาหารสำเร็จรูป
• ลดอาหารรสเผ็ด เค็ม หรือรสจัด
• ลดการบริโภคอาหารที่มีไขมันและคาร์โบไฮเดรตสูง
• บริโภคโพรไบโอติก (จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์) พร้อมกับพรีไบโอติก (ทำหน้าที่เป็นอาหารสำหรับจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์) เพื่อช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและปรับสมดุลการทำงานของลำไส้ ทั้งนี้ การรับประทานโพรไบโอติกปริมาณมากในคราวเดียวอาจส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น ท้องอืด ท้องผูก หรือท้องร่วงได้ จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อการบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม
การรักษาสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ให้ดีอยู่เสมอ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่อาจมองข้ามได้ในยุคปัจจุบัน ด้วยการรับประทานโพรไบโอติกเสริมเป็นประจำอย่างน้อยวันละ 10,000 ล้าน CFUs เพื่อสร้างสมดุลจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ ส่งผลต่อจุลินทรีย์ชนิดที่เป็นกลางให้เข้าพวกและกดให้จุลินทรีย์ชนิดไม่ดีอ่อนแรงลง ร่วมกับการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต หมั่นออกกำลังกาย ดูแลการกินให้ดี สมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ก็มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ร่างกายและสุขภาพจิตก็จะดีขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน เติมจุลินทรีย์ดีให้ลำไส้กับ BioSyn ที่รวมเอาจุลินทรีย์ดีกว่า 15 สายพันธุ์ บรรจุร่วมกับพรีไบโอติก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลลำไส้ให้กับคุณ
สุขภาพดีเริ่มต้นที่ลำไส้ เริ่มต้นกับ BioSyn
รับคำแนะนำด้านสุขภาพ และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญ
Inbox : m.me/BioSynThailand
Line : https://line.me/R/ti/p/@283kqubv
Youtube : https://bit.ly/3Fyj83C
เรียบเรียง : BioSyn Thailand
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : พญ. จิตแข เทพชาตรี (สมิติเวช) / Lish / Interpharma Group
12 ก.ย. 2567
4 ก.ย. 2567
12 ก.ย. 2567