ปัจจัยที่ควรเลี่ยง ถ้าไม่อยากเสี่ยงท้องผูก

Last updated: 7 มิ.ย. 2567  |  559 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ปัจจัยที่ควรเลี่ยง ถ้าไม่อยากเสี่ยงท้องผูก

  ปัจจัยที่ควรเลี่ยง ถ้าไม่อยากเสี่ยงท้องผูก

       หลาย ๆ คนมักจะหลงคิดไปว่าท้องผูกเป็นเรื่องปกติ แต่ในความเป็นจริงแล้วการที่เราปล่อยให้ท้องผูกติดต่อกันเป็นเวลานานจนเรื้อรังอาจส่งผลให้เกิดผลเสียหลายอย่าง ทั้งทางร่างกาย เช่น การเป็นแผล การเกิดริดสีดวง หรือมีความเจ็บปวดขณะขับถ่าย รวมไปถึงผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และสร้างความทุกข์ทรมานในชีวิตของเราได้ ดังนั้นการเอาใจใส่ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายและรู้เท่าทันอาการท้องผูกย่อมช่วยให้เรารับมือได้อย่างถูกวิธี 

        บทความนี้ BioSyn Thailand มีข้อมูลและคำแนะนำรวมถึงปัจจัยที่คุณควรเลี่ยง ถ้าไม่อยากเสี่ยงท้องผูกมาฝากกันค่ะ


 ท้องผูก และอาการที่เป็นสัญญาณเตือน

     โดยส่วนใหญ่เรามักเข้าใจว่าท้องผูก (Constipation) คือ การที่ไม่มีการขับถ่ายหรือมีความถี่ในการขับถ่ายลดลงกว่าปกติ การมีอุจจาระที่แข็งและยากต่อการขับถ่าย ซึ่งจริงๆแล้วถูกต้องเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นนะคะ ภาวะท้องผูกในทางการแพทย์ยังรวมไปถึงการมีอาการดังนี้อีกด้วยนะคะ

 การถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์หรือน้อยกว่าปกติที่เคยเป็น
 อุจจาระมีลักษณะเป็นก้อนแข็ง เป็นเม็ดเล็ก ๆ รู้สึกถ่ายอุจจาระไม่ออกหรือถ่ายได้ไม่สุด
 ถ่ายอุจจาระออกได้ยาก ต้องใช้แรงเบ่งมาก
 มีอาการเจ็บขณะถ่ายอุจจาระ
 อาจมีอาการท้องอืด ปวดท้อง หรือปวดเกร็งบริเวณหน้าท้องร่วมด้วย

        ผู้ที่มีอาการดังกล่าวเป็นระยะเวลาติดต่อกัน 3 เดือน อาการท้องผูกธรรมดาอาจพัฒนากลายเป็นท้องผูกเรื้อรังที่มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น นำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนบางอย่างได้ ได้แก่ โรคริดสีดวงทวาร การเกิดแผลแตกรอบ ๆ ทวารหนัก และอาจก่อให้เกิดอาการลำไส้อุดตันได้ ดังนั้น หากพบความผิดปกติในการถ่ายอุจจาระเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยหาสาเหตุไม่ได้ อีกทั้งมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อ่อนเพลีย น้ำหนักลดลงผิดปกติ ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด แม้พยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตและรับประทานอาหารแล้ว ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่อาจซ่อนความผิดปกติไว้


 ปัจจัยที่ควรเลี่ยง ถ้าไม่อยากเสี่ยงท้องผูก

 การอั้นอุจจาระ                                                                                                                         

 การรับประทานอาหารที่มีปริมาณเส้นใยไม่เพียงพอ                                                                      

 ขาดการออกกำลังกาย (โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ)                                                                                 

 การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาระงับปวด ยาลดกรด ยารักษาความดันโลหิตสูงบางชนิด ยาบำรุงที่มีธาตุเหล็ก ยาขับปัสสาวะ                                                                                                    

 ดื่มน้ำน้อย

 มีน้ำหนักตัวมากหรือน้อยเกินไป                                                                                                   

 ปัญหาความเครียด                                                                                                                      

 ปัญหาทางด้านจิตใจ

 ทานอาหารอย่างไร? เพื่อป้องกันและรักษาอาการท้องผูก

1. เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูง วันละ 25-30 กรัม เช่น ถั่ว ผัก ผลไม้ ธัญพืช     ซีเรียล หรือรำข้าว เป็นต้น

2. ลองรับประทานอาหารที่มีโพรไบโอติกอย่างน้อยวันละ 10 กรัม เนื่องจากอาจช่วยให้อุจจาระนิ่มลงและเพิ่มการเคลื่อนไหวของลำไส้ให้มากขึ้น

3. ดื่มน้ำสะอาดวันละประมาณ 1.5-2 ลิตร เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ และลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีนที่อาจทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ  

        นอกจากการทานผักผลไม้ที่มีใยอาหารสูง การทานอาหารที่มีโพรไบโอติก หรือการดื่มน้ำให้เพียงพอแล้ว การออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยให้ลำไส้เคลื่อนไหวได้ดี ช่วยลดอาการท้องผูกได้ด้วย เเละอย่าลืมหาตัวช่วยดีๆที่มีโพรไบโอติกทานง่ายๆเเค่วันละ 1-2 แคปซูลอย่าง  BioSyn ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารช่วยเสริมสร้างลำไส้เเละภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงเนื่องจากมีจุลินทรีย์ Lactobacillus paracasei (แล็กโทบาซิลลัส พาราคาเซอิ) ซึ่งจุลินทรีย์ ตัวนี้มีคุณสมบัติเพิ่มภูมิคุ้มกัน ส่งเสริมการทำงานของจุลินทรีย์ดีในลำไส้ บรรเทาอาการท้องผูก ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านการแพ้ ยับยั้งเชื้อก่อโรค บนผิวหนัง ปรับสมดุลลำไส้ให้เเข็งเเรงยิ่งขึ้น


          ทั้งหมดนี้คือข้อมูล พร้อมคำแนะนำดีๆ ที่ BioSyn Thailand นำมาฝากสำหรับผู้ที่ไม่อยากมีปัญหาท้องผูก ซึ่งถ้าหากรู้สาเหตุ ปรับพฤติกรรม และลดความเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ก็จะสามารถลดความเสี่ยงจากโรคอื่น ๆ ที่จะตามมาได้อีกด้วยค่ะ ห่วงใยสุขภาพทุกคนนะคะ


รับคำแนะนำด้านสุขภาพ และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญ
Inbox: m.me/BioSynThailand
Line: https://line.me/R/ti/p/@283kqubv
Youtube: https://bit.ly/3Fyj83C

ที่มา : กรมการแพทย์ 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้