Last updated: 7 มิ.ย. 2567 | 1132 จำนวนผู้เข้าชม |
คัดมาเเล้วโพรไบโอติกสายพันธุ์ที่ตอบโจทย์ ผู้สูงวัย
ปัญหาสุขภาพของผู้สูงวัย เมื่ออายุเพิ่มขึ้นสภาพร่างกายและการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายจะเสื่อมถอยลงไป จึงมีแนวโน้มการเจ็บป่วยได้ง่ายและมีโอกาสเรื้อรัง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่สามารถทำความเข้าใจ ป้องกัน และดูแลได้ ทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมถึงหาตัวช่วยเสริมให้กับร่างกาย
ปัญหาสุขภาพในผู้สูงวัย
ปัญหาเรื่องฟันและช่องปาก หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอาจสร้างปัญหาการเคี้ยวอาหารได้ไม่ละเอียด ส่งผลให้ท้องอืดเฟ้อหลังอาหาร จนทำให้ไม่อยากรับประทานอาหารเพื่อเลี่ยงปัญหาดังกล่าว
ดื่มน้ำน้อย ผู้สูงอายุกับปัญหาปัสสาวะเล็ดหรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เป็นของคู่กัน หลายท่านจึงเลือกที่จะดื่มน้ำน้อยหรือไม่ดื่มระหว่างวันเลย อาการท้องผูกจึงเป็นปัญหาที่ตามมา
ขาดการออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวร่างกายในผู้สูงอายุเป็นเรื่องยาก อาจเนื่องด้วยกลัวการพลัดตกหกล้ม หรือบางกรณีที่มีอาการป่วยจากโรคเรื้อรัง รวมถึงไม่เห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย
อาการป่วยเรื้อรัง และได้รับยาบางชนิด ส่งผลให้มีอาการท้องผูก
มีความเครียด หรือมีนิสัยกลั้นอุจจาระ
รับประทานอาหารที่มีใยอาหารไม่เพียงพอ เนื่องจากกากใยอาหารมักเคี้ยวยาก มีความเหนียว ยากต่อการเคี้ยวบด ผู้สูงอายุจึงมักเลือกรับประทานอาหารนิ่มที่ขาดใยอาหาร
อาการกรดไหลย้อน เนื่องจากทานอาหารเเล้วยังไม่ย่อย ก็นอนหรือไม่ค่อยได้เดิน
ผู้สูงวัยบางท่านนอนไม่หลับ เกิดจากความคิดมาก วิตกกังวล มีเรื่องให้คิดมาก ทำให้จุลินทรีย์ในลำไส้ลดลงตาม จึงมีปัญหาการขับถ่าย
บางท่านเป็นเบาหวานโรคฮิตในผู้สูงวัย หาโพรไบโอติกทาน ในนมเปรี้ยว โยเกิร์ต น้ำตาลก็เยอะอีก
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
หากมีปัญหาช่องปากและฟัน ผู้สูงอายุควรได้รับการรักษาเพื่อช่วยให้การเคี้ยวอาหารง่ายขึ้น และช่วยให้การรับประทานอาหารมีรสชาติมากขึ้น
ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว โดยแบ่งดื่มทั้งวัน
รับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูง เพื่อเพิ่มกากใยให้อุจจาระคล่องขึ้น หรือทานอาหารเสริมโพรไบโอติก
ออกกำลังกายเบาๆ เหมาะสมกับสภาพร่างกาย เช่น เดินเล่นหลังรับประทานอาหาร หรือแกว่งแขนยามเช้า จะช่วยให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหว ช่วยในเรื่องการขับถ่ายได้ดีขึ้น
ทำจิตใจให้แจ่มใส ฝึกขับถ่ายเป็นเวลาทุกวัน และไม่ควรใช้ยาระบายในผู้สูงวัยนานจนติดเป็นนิสัยทำให้ไม่สามารถขับถ่ายด้วยตัวเอง เเต่ควรเติม Synbiotic (Pro+Pre) เพื่อเสริมสร้างจุลินทรีย์ดีในลำไส้
โพรไบโอติกมีประโยชน์กับผู้สูงอายุอย่างไร
ด้วยอายุที่เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะวัย 50+ การทำงานของลำไส้จะอ่อนแอลง อีกทั้งแบคทีเรียชนิดดีในผู้สูงอายุมักเสื่อมสลายไปได้โดยง่าย ทำให้ระบบทางเดินอาหารอาหารและระบบขับถ่ายมีปัญหา เกิดอาการลำไส้แปรปรวน ปวดท้องเรื้อรัง ถ่ายผิดปกติ อืด แน่นท้อง อาจเป็นสาเหตุของโรคอื่นๆ ตามมา
ช่วยป้องกันได้ด้วยการรับประทาน "โพรไบโอติก" เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่ร่างกาย โดยการปรับสมดุลแบคทีเรียเพื่อให้ระบบต่างๆของร่างกายทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
โพรไบโอติกสายพันธุ์ที่มีประโยชน์ต่อผู้สูงวัย+พรีไบโอติก ใน BioSyn
1. Fructo-oligosaccharide (ฟรุกโต-โอลิโกแซ็กคาไรด์)
2. Lactobacillus crispatus (แล็กโทบาซิลลัส คริสปาทัส)
3. Bifidobacterium animalis subsp Lactis (บิฟิโดแบคทีเรียม อะนิมอลิส สับสปีซีย์ แล็กทีส) 4. Bifidobacterium Breve (บิฟิโดแบคทีเรียม เบรเว)
5. Lactobacillus salivarius (แล็กโทบาซิลลัส ซาลิวาเรียส)
6. Lactobacillus paracasei (แล็กโทบาซิลลัส พาราคาเซอิ)
7. Lactobacillus gasseri (แล็กโทบาซิลลัส แก็สเซอรี)
8. Lactobacillus rhamnosus (แล็กโทบาซิลลัส รามโนซัส)
9. Staphylococcus sciuri (สแตรปฟิโลคอคคัส ไซน์ยูรี)
10. Bacillus coagulans (บาซิลลัส โคแอกกูแลน)
11. Lactobacillus acidophilus (แล็กโทบาซิลลัส แอซิโดฟิลัส)
12. Bifidobacterium longgum (บิฟิโดแบคทีเรียม ลองกัม)
13. Bifidobacterium bifidum (บิฟิโดแบคทีเรียม บิฟิดัม)
14. Bifidobacterium lactis (บิฟิโดแบคทีเรียม แล็กทิส)
15. Lactobacillus reuteri (แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี)
16. Lactobacillus johnsonii (แล็กโทบาซิลลัส จอห์นโซนอิ)
รับคำแนะนำด้านสุขภาพ และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญฟรี
Line : https://line.me/R/ti/p/@283kqubv
Inbox : m.me/BioSynThailand
Youtube : https://bit.ly/3Fyj83C
เรียบเรียง : BioSynThailand
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://shorturl.asia/Mg6yk
https://shorturl.asia/wmi28
12 ก.ย. 2567
4 ก.ย. 2567
12 ก.ย. 2567