Last updated: 7 มิ.ย. 2567 | 1086 จำนวนผู้เข้าชม |
อาการจุกเสียด เเน่นท้อง อาหารไม่ย่อย สาเหตุมาจากการกิน
หลังกินข้าวแล้วเกิดอาการท้องอืด จุดเสียด แน่นท้อง เหมือนอาหารไม่ย่อยทุกที ทรมานจนหลายครั้งต้องพึ่งยาช่วยย่อยอาหาร ยาลดกรด แม้อาการจะดีขึ้นและหายไปเองเมื่อเวลาผ่านไป แต่หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษา หรือไม่หาสาเหตุอาจกลายเป็นภาวะอาหารไม่ย่อยเรื้อรัง ก่อให้เกิดโรคและการเจ็บป่วยในระบบทางเดินอาหารที่รุนแรงได้
อาหารไม่ย่อย
อาหารไม่ย่อย (Dyspepsia) เป็นอาการไม่สบายท้องบริเวณยอดอกหรือใต้ลิ้นปี ที่สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน ช่วงระหว่างหรือหลังกินอาหาร ทำให้เกิดอาการอึดอัด ไม่สบายท้อง มีอาการหลายอย่างร่วมกัน พบได้เกือบทุกวัย ตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในผู้ใหญ่ที่จะพบได้มากกว่าในเด็ก ส่วนโอกาสการเกิดอาการมีใกล้เคียงกันทั้งในผู้ชายและผู้หญิง บางคนเป็นครั้งคราว บางคนอาจเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง
ต้นเหตุอาหารไม่ย่อย
บ่อยครั้งที่ไม่สามารถทราบได้แน่ชัดว่า สาเหตุของอาการอาหารไม่ย่อยมาจากอะไร แต่โดยส่วนใหญ่มักเกิดจาก
2. พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การสูบบุหรี่ มีภาวะอ้วน หรือน้ำหนักเกินกว่ามาตรฐาน และการตั้งครรภ์
3. ปัญหาด้านอารมณ์และจิตใจ เช่น มีภาวะความเครียด วิตกกังวล จะส่งผลทำให้กระเพาะอาหารสร้างกรดมากกว่าปกติ
4. ปัญหาด้านสุขภาพหรือการเจ็บป่วยต่างๆ เช่น
การเกิดแผลในกระเพาะอาหารหรือภายในลำไส้เล็ก ทั้งจากการติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร (H.pylori) และจากสาเหตุอื่น
ภาวะท้องผูก ภาวะกรดไหลย้อนหรือเป็นโรคกรดไหลย้อน
อวัยวะในระบบย่อยอาหารเกิดการอักเสบ เช่น กระเพาะอาหารอักเสบ หลอดอาหารอักเสบ ลำไส้เล็กหรือตับอ่อนอักเสบ ซึ่งมีหน้าที่ผลิตเอนไซม์ย่อยอาหาร
ลำไส้อุดตัน ภาวะลำไส้ขาดเลือด
โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งหลอดอาหาร พบได้น้อย และส่วนใหญ่จะพบในคนอายุตั้งแต่ 40-50 ปีขึ้นไป
นิ่วในถุงน้ำดี กลุ่มเสี่ยงคือเพศหญิงที่มีอายุเกิน 40 ปี หากมีอาการจุกเสียด แน่นท้องหลังจากรับประทานอาหารมันอาจเป็นเพราะนิ่วถุงน้ำดีได้
การติดเชื้อแบคทีเรีย แบคทีเรียที่มีชื่อว่าเอช ไพโรไล (H.pylori) ซึ่งอาศัยอยู่ที่เยื่อบุกระเพาะอาหารทำให้เกิด กระเพาะอักเสบ เกิดอาการเสียดท้อง แน่นท้องและมีลมในท้องได้
5. ผลข้างเคียงของยาบางชนิดที่มีต่อระบบย่อยอาหาร จนนำไปสู่อาการอาหารไม่ย่อยได้ เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นประจำ ยาแก้ปวด ยาสเตียรอยด์ และจำพวกยาต้านอักเสบ เช่น ยาแอสไพริน ยาไอบูโพรเฟน และยาไดโคลฟีแนค เป็นต้น
6. อายุที่มากขึ้น ระบบการย่อยอาหารจะช้าลง โดยเฉพาะถ้ามีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ถ้าเป็นนานๆและควบคุมได้ไม่ดี จะทำให้เส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกระเพาะทำงานผิดปกติ ส่งผลให้กระเพาะบีบตัวน้อยลง ทำให้มีอาหารค้างเหลืออยู่ในกระเพาะอาหารทำให้เกิดกระเพาะอักเสบ เกิดอาการเสียดท้อง แน่นท้องและมีลมในท้องได้
ตรวจเช็คและรักษาให้ถูกวิธี
การดูแลรักษาภาวะอาหารไม่ย่อย ต้องรักษาที่ต้นเหตุตามลักษณะอาการที่เป็น โดยเบื้องต้นแพทย์จะวินิจฉัย จากประวัติอาการ การตรวจร่างกาย และจากการที่ให้ผู้ป่วยรับประทานยาลดกรด หรือยาช่วยย่อยอาหาร ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร หลังจากนั้นจะดูอาการประมาณ 3-4 สัปดาห์
หากไม่ดีขึ้นหรือมีอาการมากขึ้น ก็อาจมีการตรวจอื่นๆ เพิ่มเติมตามดุลยพินิจของแพทย์ เช่น การตรวจเลือด หรือการตรวจลมหายใจหาการติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร และการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือพิเศษที่มีกล้อง (Endoscope) ติดอยู่ตรงส่วนปลายท่อ สอดเข้าไปทางปากของผู้ป่วย แล้วตรวจดูอวัยวะภายในเพื่อหาความผิดปกติผ่านภาพจากกล้อง
อย่างไรก็ตาม อาหารไม่ย่อยควรป้องกันที่สาเหตุและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง รวมทั้งการปรับพฤติกรรมการรับประทาน เช่น เลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง มีรสเผ็ด หรืออาหารสำเร็จรูป กินอาหารให้ตรงเวลาและกินพอดีไม่เยอะจนเกินไป พร้อมทั้งเรียนรู้วิธีบริหารจัดการรับมือกับความเครียด หาวิธีผ่อนคลาย ก็จะช่วยให้ห่างไกลอาการอาหารไม่ย่อยได้
พบเเพทย์เมื่อมีอาการดังนี้
ถึงแม้อาการท้องอืดจะดูเป็นเรื่องปกติ แต่อย่านิ่งนอนใจ หากพยายามแก้ไขโดยเปลี่ยนอาหารที่กินและเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วยังไม่ดีขึ้นหรือมีอาการต่างๆดังนี้ควรรีบมาพบแพทย์ก่อนสาย
ท้องอืดและมีปวดท้องร่วมด้วย
น้ำหนักลด ผอมลง
อุจจาระผิดปกติเช่น
อุจจาระเป็นเลือดหรืออุจจาระสีดำๆแดงๆ เหลว ไม่เป็นก้อน เนื่องจากอาจมีเลือดออกจากแผลในกระเพาะอาหารหรือโรคมะเร็งได้
อุจจาระก้อนเล็กลง ท้องผูกสลับท้องเสีย อาจเป็นอาการเริ่มต้นของโรคมะร็งลำไส้ใหญ่
การทานยาเพื่อรักษาอาจเป็นการรักษาที่ปลายเหตุ แต่ท่านไหนที่ยังไม่เป็นก็ควรดูแลรักษาสุขภาพร่างกายตัวเองให้ดี แน่นอนว่าป้องกันไว้ย่อมดีกว่าการแก้ไข แนะนำทานซินไบโอติก (โพรไบโอติก + พรีไบโอติก) ปรับสมดุลลำไส้ BioSyn ขอเป็นอีกทางเลือกของคนสุขภาพดี ผลิตภัณฑ์ของคุณอาหนิงนิรุตติ์ ที่ทานด้วยตัวเอง เเละนำมาบอกต่อกับทุกๆคนให้มีสุขภาพดีไปด้วยกัน เลือกโพรไบโอติกที่ดีต้องมีพรีไบโอติกร่วมด้วย เพื่อส่งเสริมการทำงานให้โพรไบโอติกทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การลงทุนที่คุ้มค่าที่สุดคือลงทุนกับตัวเองนะคะ
รับคำแนะนำด้านสุขภาพ และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญฟรี
Line : https://line.me/R/ti/p/@283kqubv
Inbox : m.me/BioSynThailand
Youtube : https://bit.ly/3Fyj83C
เรียบเรียง : BioSynThailand
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://shorturl.asia/rmAF1
https://shorturl.asia/HIzJu
12 ก.ย. 2567
12 ก.ย. 2567
4 ก.ย. 2567