ท้องอืด มีแก๊สในกระเพาะอาหาร เกิดจากอะไร

Last updated: 7 มิ.ย. 2567  |  1130 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ท้องอืด มีแก๊สในกระเพาะอาหาร เกิดจากอะไร

ท้องอืด มีแก๊สในกระเพาะอาหาร เกิดจากอะไร

แม้ท้องอืดจะเป็นเพียงอาการ ไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ท้องอืดก็อาจเป็นอาการหนึ่งของโรคร้ายแรงได้ เช่น หากเกิดอาการท้องอืดนานเกินกว่า 2 สัปดาห์ รับประทานยาแล้วไม่ดีขึ้น รวมถึงน้ำหนักลด ซีด เบื่ออาหาร ตัวเหลือง อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคมะเร็ง ดังนั้นถ้าท้องอืดอย่าปล่อยทิ้งไว้เด็ดขาดนะคะ

ท้องอืดมีลักษณะอย่างไร

อาการท้องอืด คือ ความรู้สึกว่ามีลมในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้ ทำให้อึดอัดไม่สบายตัว อาจมีอาการปวดท้องคลื่นไส้ หรืออยากอาหารน้อยลง ซึ่งโดยปกติแล้วการมีลมหรือแก๊สในกระเพาะอาหารนั้นอาจเกิดจากการกินอาหาร ทั้งลักษณะอาหาร และชนิดของอาหาร การสูบบุหรี่ การเคี้ยวหมากฝรั่งเป็นประจำ หรือผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางกลุ่ม เช่น ยานอนหลับ ยากล่อมประสาท ยาคลายเครียด ซึ่งมีผลในการกดระบบประสาทและทำให้การบีบตัวของลำไส้ลดลงก็อาจส่งผลให้เกิดอาการท้องอืดได้เช่นกัน

สำหรับบางรายที่มีอาการท้องอืดมากหรือนาน อาจเนื่องมาจากโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร เช่น โรคกระเพาะอาหารอักเสบ กระเพาะเป็นแผล มะเร็งทางเดินอาหารหรือลำไส้ มีการติดเชื้อพวกพยาธิ โรคลำไส้แปรปรวน หรือเป็นการทำงานที่ผิดปกติของลำไส้เอง รวมถึงโรคที่เกี่ยวกับระบบอื่นๆ เช่น ไทรอยด์ เบาหวาน ก็สามารถทำให้เกิดอาการท้องอืดร่วมด้วย ซึ่งต้องมีการตรวจเพิ่มเติม

สาเหตุที่ทำให้มีลมในท้อง หรือ ท้องอืด

ท้องอืด อาจเกิดจากการกลืนอากาศเข้าไปมากกว่าปกติ เมื่อกลืนอาหาร น้ำ หรือน้ำลาย ยังเป็นการกลืนอากาศบางส่วนเข้าไปด้วย ซึ่งลมเหล่านั้นจะสะสมอยู่ในระบบย่อยอาหาร รวมถึงการรับประทานอาหารที่ย่อยยาก นอกจากนี้ยังอาจเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพที่ส่งผลต่อการย่อยอาหาร เช่น โรคกระเพาะ โรคลำไส้แปรปรวน (IBS) เป็นต้น โดยจะทำให้ร่างกายจำเป็นต้องขับลมนั้นโดยการผายลม หรือ เรอ 

วิธีแก้เมื่อมีลมในท้อง อาหารไม่ย่อย ต้องทำอย่างไร

1. ท้องอืด วิธีแก้โดยการทานอาหารให้ช้าลง
2. เมื่อท้องอืด วิธีแก้คือลดอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส
3. วิธีแก้อาการท้องอืดด้วยโพรไบโอติก (Probiotics)
4. อาการท้องอืด มีวิธีแก้โดยการเพิ่มการออกกำลังกาย
5. การรักษาอาการท้องผูก เป็นวิธีแก้ ท้องอืด



รับคำแนะนำด้านสุขภาพ และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญฟรี
Line : https://line.me/R/ti/p/@283kqubv
Inbox : m.me/BioSynThailand
Youtube : https://bit.ly/3Fyj83C

เรียบเรียง : BioSyn Thailand
เครดิต : https://shorturl.asia/eN0lz
https://shorturl.asia/H0FGx

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้