แบคทีเรียในร่างกายของเรามาจากไหนบ้าง 

Last updated: 11 ก.ค. 2566  |  392 จำนวนผู้เข้าชม  | 

แบคทีเรียในร่างกายของเรามาจากไหนบ้าง 

แบคทีเรียในร่างกายของเรามาจากไหนบ้าง                      

หลายคนเคยสงสัยใช่ไหมคะว่าการที่เราอยู่เเต่ในบ้าน ล้างมือตลอด เเล้วเเบคทีเรียจะมาจากไหนกันนะ…..

จริงๆแล้วแบคทีเรียในร่างกายของเราอยู่กับเรามาตั้งแต่แรกเกิด ในช่วงระหว่างการคลอด โดยเมื่อทารกผ่านช่องคลอดออกมา หรือหากคลอดโดยการผ่าตัดก็จะได้สัมผัสกับผิวของแม่ ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดแรกที่มาตั้งรกรากอาศัยอยู่ในลำไส้ของทารกเพื่อช่วยในการย่อย หลังจากนั้นระหว่างที่ทารกกินนมแม่ พวกเขาก็จะได้สัมผัสกับผิวหนังของแม่และได้รับแบคทีเรียเพิ่มนั่นเองค่ะ เป็นเรื่องที่ทุกคนไม่คาดคิดมาก่อนใช่ไหมคะ จริงๆเเล้วถ้าเรารู้เรื่องพวกนี้ก็จะทำให้เราใส่ใจสุขภาพตัวเองมากยิ่งขึ้น ร่างกายของเราก็จะได้เเข็งเเรงนะคะ

  แบคทีเรียตามผิวหนัง

ผิวหนังของคนเรามีพื้นที่อยู่ประมาณ 1.8 ตารางเมตร และมีแบคทีเรียอาศัยอยู่มากกว่า 1.5 ล้านล้านตัว แบคทีเรียบนผิวหนังมีหลายชนิดตามสภาพแวดล้อมที่เจริญเติบโต อาจเป็นบริเวณที่มีไขมัน เช่น ศีรษะ ลำคอ ลำตัว บริเวณที่มีความชื้น เช่น รอยพับ ระหว่างนิ้วเท้า และบริเวณที่แห้ง เช่น แขน ขา ซึ่งส่วนใหญ่มักมีภาวะอิงอาศัย (+,0 ภาวะที่เป็นประโยชน์ต่อแบคทีเรีย แต่ไม่ช่วยหรือทำอันตรายต่อโฮสต์) หรือภาวะพึ่งพาอาศัย (+,+ ภาวะที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งแบคทีเรียและโฮสต์) โดยบางส่วนช่วยต่อต้านแบคทีเรียที่เป็นเชื้อโรคด้วยการหลั่งสารบางอย่างออกมาเพื่อป้องกันจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายไม่ให้เข้ามาในพื้นที่ของพวกมัน บางส่วนช่วยกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน

  แบคทีเรียในช่องปากและทางเดินหายใจ

ในช่องปากของเราเต็มไปด้วยจุลินทรีย์ ซึ่งมีแบคทีเรียอยู่ประมาณ 700 ชนิด รวมทั้งฟังไจ อาร์เคีย และไวรัส เนื่องจากในช่องปากมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการดำรงชีพ คือ อบอุ่น มีความชื้น และเต็มไปด้วยอาหาร จุลินทรีย์โดยส่วนใหญ่ไม่เป็นอันตราย แต่ก็มีบางชนิดที่เป็นสาเหตุของการอักเสบ ฟันผุ เหงือกอักเสบ หรือกลิ่นปากได้ ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดในการรักษาสุขภาพปากและฟันก็คือการทำความสะอาด รักษาสุขอนามัยที่ดี นอกจากนี้ในบางครั้งแบคทีเรียในช่องปากยังอาจเดินทางไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้ด้วย เช่น ลำไส้ ปอด และอาจก่อให้เกิดความเจ็บป่วยร้ายแรงได้ ขณะที่แบคทีเรียภายในทางเดินหายใจ อาจมาจากภายนอกซึ่งมาจากการหายใจ บางชนิดเป็นอันตราย แต่เยื่อบุในโพรงจมูกและทางเดินหายใจจะผลิตเมือกออกมาเพื่อดักจับแบคทีเรียเหล่านี้ เป็นแนวป้องกันแรกก่อนที่พวกมันจะเข้าสู่ร่างกายของเรา

  แบคทีเรียในลำไส้

ลำไส้ของมนุษย์เป็นอีกที่หนึ่งที่มีจุลินทรีย์อยู่เป็นจำนวนมาก และที่นี่พวกมันตั้งรกรากกันอยู่จนกลายเป็นระบบนิเวศเล็ก ๆ โดยประกอบด้วยแบคทีเรียเป็นส่วนใหญ่ ประมาณ 1,200 ชนิด ซึ่งพวกมันมีบทบาทสำคัญที่ช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดี โดยช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเผาผลาญให้มากขึ้นได้ ช่วยผลิตเอนไซม์บางอย่างที่เพิ่มประสิทธิภาพของระบบย่อยอาหาร สร้างวิตามินบี 12 หรือวิตามินเคที่สำคัญต่อร่างกาย ช่วยควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน โดยการสื่อสารระหว่างเซลล์ภูมิคุ้มกัน ควบคุมการตอบสนองต่อการติดเชื้อ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคบางอย่าง เช่น โรคอ้วน โรคหอบหืด  นอกจากนี้งานวิจัยใหม่ ๆ บางชิ้นยังคาดว่าจุลินทรีย์เหล่านี้อาจมีบทบาทรวมไปถึงการช่วยควบคุมการทำงานบางอย่างของสมองด้วย

อย่างไรก็ตาม หากเกิดความไม่สมดุลระหว่างแบคทีเรียที่ดีต่อสุขภาพกับแบคทีเรียร้ายที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของเรา โดยแบคทีเรียดีมีอยู่น้อย ก็อาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับระบบย่อยอาหารขึ้นมาได้เช่นกัน เรียกว่า "Gut dysbiosis"

  แบคทีเรียบริเวณช่องคลอด

แบคทีเรียที่อาศัยอยู่บริเวณช่องคลอดมีประมาณ 300 สายพันธุ์ และส่วนใหญ่เป็นแบคทีเรียที่มีกรดแลกติก ซึ่งช่วยรักษาสภาพความเป็นกรดบริเวณดังกล่าว ป้องกันการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ประเภทอื่น ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ ได้ 

  เเบคทีเรียจากอาหารที่ทานเข้าไป

อาหารแทบทุกชนิดที่เราบริโภคเข้าไปนั้น มักจะประสบปัญหากับการปนเปื้อนจากสารพิษต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นสารพิษที่เป็นสิ่งมีชีวิต สารเคมี หรือสารกัมมันตรังสี โดยเฉพาะอาหารที่ปนเปื้อนสารพิษที่เป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกจุลินทรีย์ (Microorganisms) ไม่ว่าจะเป็นไวรัส แบคทีเรีย รา  ยีสต์ ฯลฯ เนื่องจากจุลินทรีย์สามารถพบได้ทั่วไป โดยปริมาณที่พบจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับวิธีการผลิต บรรจุภัณฑ์ การควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร สภาพแวดล้อม รวมไปถึงผู้บริโภคเอง โดยผู้ที่บริโภคอาหารปนเปื้อนจุลินทรีย์จะได้รับผลกระทบต่อร่างกายมากน้อยแตกต่างกันไปตามชนิดและประเภทของจุลินทรีย์ 

 เเบคทีเรียในร่างกายเรามีทั้งดีเเละไม่ดี 

เราเลือกได้ว่าจะให้มีเเบบไหนมากกว่าโดยเริ่มจากการทานเเต่ของที่มีประโยชน์ เติมจุลินทรีย์ดีเข้าไปเพื่อให้จุลินทรีย์ดีมีมากกว่าจุลินทรีย์ที่ไม่ดี จะช่วยให้ลำไส้ของเราเเข็งเเรง เมื่อลำไส้เเข็งเเรงก็ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายโดยรวมด้วยเช่นกัน BioSyn ขอเป็นตัวเเทนในการส่งมอบสุขภาพดีให้กับทุกคน เพียงเเค่ทานวันละ 1 แคปซูล ก็ได้รับจุลินทรีย์ดีถึง 20 พันล้านตัว หรือ 20 Billion CFU มีทั้งโพรเเละพรีไบโอติกมากถึง 15 สายพันธุ์ ซึ่งร่างกายคนเราต้องการจุลินทรีย์ดีในการทำงานทุกวัน เเละยังต้องการมากถึง 10-20 พันล้านตัวต่อวัน หรืออย่างต่ำ 10,000 ล้าน CFU โดย CFU คือ หน่วยที่ใช้ตรวจปริมาณจุลินทรีย์ที่อยู่ในสินค้าและอาหารไม่ว่าจะเป็น นมเปรี้ยว หรือ อาหารเสริม นั่นเองค่ะ ดูแลตัวเองในวันนี้สุขภาพดีในวันนี้นะคะ


รับคำแนะนำด้านสุขภาพ และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญ
Inbox : m.me/BioSynThailand
Line : https://line.me/R/ti/p/@283kqubv
Youtube : https://bit.ly/3Fyj83C
Website : https://www.bhi-innovation.com/

เรียบเรียง : BioSyn Thailand
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://shorturl.asia/WHIep
https://shorturl.asia/8rR3u

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้