เตือนภัย!! ลำไส้แปรปรวน เช็คอาการด่วนก่อนสาย

Last updated: 7 มิ.ย. 2567  |  501 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เตือนภัย!! ลำไส้แปรปรวน เช็คอาการด่วนก่อนสาย

       ทุกคนรู้มั้ยคะว่า สิ่งสำคัญของลำไส้แปรปรวนหรือ IBS เป็นภาวะที่สามารถจัดการได้ ด้วยการดูแลเรื่องการรับประทานอาหารและการปฏิบัติตนที่เหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์  ดังนั้นหากพบอาการผิดปกติ ก็ไม่ควรละเลย ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคและรับการรักษาที่ถูกต้อง เพื่อที่จะได้กลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกตินั่นเองค่ะ 

  อาการที่สังเกตได้เบื้องต้น 
-ปวดท้องเรื้อรัง
-ท้องอืด        
-ถ่ายผิดปกติ
-แน่นท้อง

      สังเกตง่ายๆเลยนะคะ ก็จะมีลักษณะเฉพาะเลยก็คือ มีอาการปวดท้อง มีลมในท้อง ร่วมกับท้องเดิน ท้องผูก หรือท้องเดินสลับท้องผูกเป็นๆหายๆเป็นแรมปี อาการเหล่านี้อาจเป็นต่อเนื่องทุกวัน หรือเป็นบางวันหรือบางช่วง ซึ่งนับรวมๆกันแล้วเป็นเวลามากกว่า 12 สัปดาห์ ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา อาการจะมีลักษณะและความรุนแรงมากน้อยแตกต่างกันในแต่ละคน หรือแต่ละช่วงเวลา ส่วนน้อยที่จะมีอาการมากจนผู้ป่วยต้องไปปรึกษาแพทย์ อาการปวดท้องมีลักษณะไม่แน่นอน อาจปวดบิดเกร็งเป็นพักๆปวดตื้อ ๆ ปวดแปลบๆหรือแน่นอึดอัดไม่สบายท้อง ส่วนใหญ่จะปวดบริเวณท้องน้อยข้างซ้าย (บางรายอาจปวดทั่วท้อง) อาการจะทุเลาทันทีหลังถ่ายอุจจาระหรือผายลมนั่นเองค่ะ

       ผู้ป่วยก็มักจะมีลมในท้องมาก ท้องอืด เวลาถ่ายอุจจาระมักมีลมออกมาด้วย ในรายที่มีอาการท้องเดินเป็นอาการเด่น จะมีอาการถ่ายเป็นน้ำหรือถ่ายเหลวบ่อย (มากกว่า 3 ครั้ง / วัน) โดยมักมีอาการปวดท้องอยากถ่ายทันทีหลังกินอาหารโดยเฉพาะมื้อที่กินอาหารหลังปล่อยให้ท้องว่างมานาน (เช่นมื้อเช้า) กินอาหารมาก กินเร็วๆหรือกินอาหารชนิดที่กระตุ้นให้เกิดอาการ ผู้ป่วยจะปวดท้องถ่ายแบบกลั้นไม่อยู่ต้องเข้าห้องน้ำทันที บางรายอาจมีอาการเหมือนถ่ายอุจจาระไม่สุด อยากถ่ายบ่อยๆทั้ง ๆ ที่เพิ่งถ่ายไปไม่นานนั่นเองค่ะ

       โดยทั่วไปก็มักจะถ่าย 1-3 ครั้งหลังอาหารบางมื้อ แล้วหายเป็นปกติ อาการไม่รุนแรง ไม่มีคลื่นไส้ อาเจียนไม่มีภาวะขาดน้ำ และส่วนใหญ่หลังเข้านอนแล้วมักจะไม่ต้องลุกขึ้นมาถ่ายอุจจาระจนกระทั่งรุ่งเช้า ในรายที่มีอาการท้องผูกเป็นอาการเด่น จะมีอาการถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้ง / สัปดาห์ อุจจาระมีลักษณะเป็นก้อนแข็งขนาดเล็ก ถ่ายลำบาก ต้องออกแรงเบ่ง และมีอาการปวดบิตในท้องร่วมด้วย บางรายอาจมีอาการท้องเดินสลับท้องผูกเป็นช่วงๆ

        ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยจะมีอาการถ่ายมีมูกปนออกมากับอุจจาระ มูกนี้คือน้ำเมือก (mucus) ปกติที่เยื่อบุลำไส้หลั่งออกมาเพื่อให้ความชุ่มชื้น และปกป้องผิวลำได้ ไม่มีกลิ่นเหม็น และไม่มีเลือดปน บางรายอาจมีอาการปวดท้อง มีลมในท้อง โดยไม่มีอาการท้องเดินหรือท้องผูกร่วมด้วยก็ได้ คล้ายอาการอาหารไม่ย่อย หรือโรคกระเพาะอาหาร ผู้ป่วยมักมีอาการกำเริบหรือรุนแรงขึ้น เนื่องจากสิ่งกระตุ้น ได้แก่    

 ความเครียดทางจิตใจ วิตกกังวล ซึมเศร้า                                                                                   
 อาหารบางชนิด เช่น นมและผลิตภัณฑ์จากนม อาหารเผ็ดจัด มันจัด กะทิ แอลกอฮอล์ ชา กาแฟ ช็อกโกแลต แยม ผลไม้ น้ำหวาน น้ำผึ้ง หมากฝรั่ง โดล่า น้ำโซดาน้ำอัดลม เป็นต้น                                                                
 อาหารมื้อหนัก (กินปริมาณมาก) หรือกินอาหารหลังปล่อยให้ท้องว่างมานาน หรือกินอาหารเร็วๆ        
 ยาบางชนิดที่มีผลข้างเคียงทำให้ท้องผูกหรือท้องเดิน                                                                                            
  ขณะมีประจำเดือน                                                                                                                                                 

         การติดเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีภาวะอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น โรคกังวลทั่วไป  โรคซึมเศร้า  อาหารไม่ย่อย  ไมเกรน  อาการปวดศีรษะ ปวดหลัง ปวดเมื่อยตามตัว ปวดประจำเดือน ปัสสาวะบ่อยหรือกลั้นไม่ได้ นอนไม่หลับ เป็นต้น

 หากปล่อยเรื้อรัง จะส่งผลเสียอย่างไร       

1. โรคนี้จะมีอาการเป็นๆหายๆเรื้อรังและไม่มียารักษาโดยเฉพาะหรือให้หายขาด แต่ก็ไม่มีอันตรายใดๆทั้งสิ้นรวมทั้งไม่กลายเป็นมะเร็งหรือโรคร้ายแรงอื่นๆ ส่วนใหญ่จะมีอาการไม่รุนแรง เพียงสร้างความรำคาญหรือความลำบากในการคอยหาห้องน้ำเวลาเดินทางออกนอกบ้าน หากจำเป็นก็สามารถใช้ยาบรรเทาอาการเป็นครั้งคราว                                 

2. ควรสังเกตว่ามีสิ่งกระตุ้นหรือเหตุกำเริบจากอะไร (ความเครียด อาหาร ยา) แล้วหลีกเลี่ยงและดูแลตนเองด้วยการปฏิบัติตนเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ อาการต่างๆก็จะทุเลาได้                                                                                        

3. ในรายที่มีอาการผิดแปลกไปจากเกณฑ์การวินิจฉัย หรือสงสัยเกิดจากสาเหตุอื่น หรือโรคร้ายแรง เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการตรวจพิเศษเพิ่มเติม

  อาการที่ควรรีบพบแพทย์ 

-อาการปวดท้องอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในเวลากลางคืน

-น้ำหนักลดลง โดยไม่มีสาเหตุ

  ปัจจัยเสี่ยงของโรคลำไส้แปรปรวน 

-มีประวัติครอบครัวเป็นโรค IBS

-มีความวิตกกังวลหรือความเครียดสูง

-เพศหญิง (ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรค IBS  มากกว่าผู้ชายถึงสองเท่า) 

-มีอายุต่ำกว่า 45 ปี 

 การรักษาโรคลำไส้แปรปรวน

     สิ่งสำคัญเลยคือดูแลเรื่องการรับประทานอาหาร โดยหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิดที่เป็นปัจจัยกระตุ้นการเกิดโรค  จำกัดแลคโตส (แลคโตสส่งผลให้ภาวะ  IBS แย่ลง) เพิ่มปริมาณกากใยอาหารในการบริโภคประจำวัน  เพื่อช่วยระบบย่อยอาหารให้ทำงานดีขึ้น จัดการความเครียด เนื่องจากความเครียดส่งผลกระทบให้ IBS แย่ลง  แนะนำให้เข้ากลุ่มขอคำปรึกษาหรือการสนับสนุน  ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอใช้ยา (แก้อาการท้องเสีย  ยาต้านความวิตกกังวลและอาการซึมเศร้า เป็นต้น) แม้ว่ายาจะไม่สามารถรักษาโรค IBS ได้ แต่ก็ช่วยให้จัดการกับภาวะลำไส้แปรปรวนได้ง่ายขึ้น  

 การเพิ่มแบคทีเรียที่ดี (Probiotic) ให้กับลำไส้ 

      โพรไบโอติก (Probiotic) เป็นแบคทีเรียที่มีชีวิตและยีสต์ที่ดีต่อสุขภาพของเรา โดยเฉพาะดีกับระบบย่อยอาหาร หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่าโพรไบโอติกนั้นเป็นเชื้อโรคที่ทำให้ร่างกายเกิดโรค แต่ทุกคนรู้ไหมคะว่าจริง ๆ แล้วในร่างกายของคนเรานั้นเต็มไปด้วยแบคทีเรียชนิดที่ไม่ดีและชนิดที่ดีมีประโยชน์กับร่างกาย เพราะช่วยลำไส้แข็งแรงขึ้น ซึ่งโพรไบโอติกสามารถพบได้ในอาหารบางชนิดอย่างเช่น โยเกิร์ต กะหล่ำปลีดอง กิมจิ และอาหารหมักดองอื่น ๆ เมื่อร่างกายได้รับแบคทีเรียที่ดีอย่าง โพรไบโอติก ก็จะช่วยปรับสมดุลของแบคทีเรียในร่างกายเพื่อให้ระบบย่อยอาหารทำงานอย่างที่ควรจะเป็น ช่วยให้อาการโดยรวมของลำไส้อักเสบดีขึ้น จากการวิจัยเบื้องต้นพบว่ามีโพรไบโอติกถึง 10 สายพันธ์ุ ที่มีส่วนช่วยในการปรับปรุงอาการโดยรวมของลำไส้อักเสบให้ดีขึ้นได้ ช่วยเรื่องอาการปวดท้อง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งอาการสำคัญที่มักจะพบได้ในผู้ที่มีอาการลำไส้แปรปรวน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะมีอาการปวดท้องส่วนล่างหรือส่วนล่างหลังการขับถ่าย ลดอาการท้องอืดและมีแก๊สมาก การผลิตแก๊สมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการท้องอืดและมีแก๊สในกระเพาะอาหารมากเกินไป จากการตรวจสอบข้อมูลของสมาคมโรคเบาหวานของอังกฤษ (British Dietetic Association; BDA) ในปี 2559 มีเพียงงานวิจัยสองชิ้นที่พบว่าโพรไบโอติกลดอาการท้องอืดเป็นพิเศษและมีเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้นที่พบว่าพวกมันลดปริมาณแก๊สในกระเพาะ ซึ่งโพรไบโอติกสายพันธุ์ L. plantarum มีส่วนช่วยลดความถี่และความรุนแรงของอาการท้องอืดเมื่อเทียบกับการให้ยาหลอกในตัวอย่างการศึกษา

        อย่างไรก็ตามอย่าลืมมองหาตัวช่วยดีๆในการช่วยปรับสมดุลเเละเสริมสร้างความเเข็งเเรงให้กับสุขภาพลำไส้ด้วย BioSyn ซินไบโอติกเจ้าแรกในไทยที่รวมเอาจุลินทรีย์ดีกว่า 15 สายพันธุ์ ‼ บรรจุร่วมโพรกับพรีไบโอติก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลลำไส้ให้กับคุณ ด้วยนวัตกรรมการผลิตเฉพาะของ BioSyn ผ่านการยอมรับจากสถาบันวิจัยระดับโลก อย่าง SYNTEK  ทำให้ได้โพรไบโอติกคุณภาพเยี่ยม สามารถทนต่อสภาวะ  กรด - ด่าง ในทางเดินอาหารได้อย่างดี แค่เพียง 1 แคปซูล ก็มีโพรไบโอติกถึง 20 Billion CFU  ซึ่งเพียงพอต่อการช่วยปรับสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ เมื่อลำไส้ดี ก็ทำให้เชื้อโรคต่างๆ ไม่สามารถ BioSyn  แทรกซึมเข้าสู่ร่างกายได้โดยง่ายอีกด้วย อีกทั้งยังมั่นใจในความปลอดภัย เริ่มต้นดูแลสุขภาพให้ดี เริ่มต้นที่ลำไส้ ใช้ผลิตภัณฑ์ นะคะ ป้องกันไว้ดีกว่าแก้ไขเเน่นอนค่ะ

 

 

Cr.Hello คุณหมอ

 

รับคำแนะนำด้านสุขภาพ และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง

แอดไลน์ BioSyn วันนี้รับฟรี 1แต้ม มีส่วนลดมากมาย

Line: https://line.me/R/ti/p/@283kqubv

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้