Last updated: 7 มิ.ย. 2567 | 802 จำนวนผู้เข้าชม |
พฤติกรรมเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ 5 ข้อ
แม้โรคหัวใจ จะพบมากในผู้สูงอายุ แต่ในปัจจุบันกลับพบว่าคนที่อายุยังน้อยหรือวัยรุ่นก็มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้มากเช่นกัน บางคนอายุแค่ 30 - 35 ปี ก็เป็นโรคหัวใจแล้ว ส่วนใหญ่มักเกิดจากความผิดปกติที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด รวมทั้งเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต การไม่ดูแลสุขภาพที่ทำให้เสี่ยงเป็นโรคหัวใจ ฉะนั้นการลด ละ เลี่ยง พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวเองก็สามารถลดความเสี่ยง หรือป้องกันการเกิดโรคหัวใจในอนาคตได้
สาเหตุของ โรคหัวใจ คืออะไร ?
มาจาก 2 ปัจจัยหลักๆคือ
ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้
หากภายในครอบครัวมีประวัติที่พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย หรือมีพี่น้องที่เคยเป็นโรคหัวใจ เมื่อตกมาถึงเราก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคหัวใจวายได้ ซึ่งพฤติกรรมการใช้ชีวิตในแต่ละวันนั้นล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่เราไม่สามารถควบคุม หรือเปลี่ยนแปลงได้ เช่นเดียวกับเรื่องของพันธุกรรมที่ได้รับการถ่ายทอดมา
อายุที่เพิ่มมากขึ้นก็อาจมีส่วนให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ไม่ว่าจะในผู้หญิง หรือผู้ชาย ยิ่งมีอายุที่เพิ่มมากขึ้นเท่าไหร่ โอกาสที่จะเกิดไขมันในผนังหลอดเลือดก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
เรื่องเพศก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เราไม่ควรมองข้ามและเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ซึ่งจากงานวิจัยต่างๆ ก็แสดงให้เห็นว่า โรคหลอดเลือดหัวใจนั้นเกิดในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โดยอาจมีสาเหตุมาจากฮอร์โมนเพศหญิงที่ช่วยควบคุมปริมาณไขมันให้อยู่ในระดับที่พอดี อีกทั้งผู้หญิงที่อยู่ในวัยหลังหมดประจำเดือนแล้วก็อาจความเสี่ยงการเป็นโรคได้
ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้
การสูบบุหรี่
การสูบบุหรี่ทำให้เกิดมะเร็งปอด หลอดลมอักเสบ อีกทั้งยังทำให้เกิดถุงลมโป่งพอ ซึ่งคนที่สูบบุหรี่ก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะหัวใจวายได้มากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ถึงสองเท่า และมีโอกาสเสียชีวิตจากโรคหัวใจอย่างกะทันหัน ฉะนั้น การเลิกสูบบุหรี่จึงจะดีที่สุด
ความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูง นั้น สามารถกระตุ้นให้กระบวนการสะสมไขมันที่ผนังหลอดเลือดเกิดขึ้นได้เร็ว อีกทั้งยังทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น เนื่องจากต้องสูบฉีดโลหิตแรงขึ้นสำหรับไปหล่อเลี้ยงให้ทั่วร่างกาย เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรควบคุมอาหาร ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
คอเลสเตอรอลสูง
คอเลสเตอรอล คือ ไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายเราสามารถผลิตขึ้นได้ อีกทั้งยังพบได้ในอาหารบางชนิด เมื่อมีภาวะของโรคหลอดเลือดหัวใจเกิดขึ้นขึ้น ก็จะพบว่าจะมีการสะสมคอเลสเตอรอลในหลอดเลือดหัวใจ ยิ่งมีในปริมาณที่มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสพัฒนา และเติบโตของโรคหัวใจมากขึ้น เพราะฉะนั้นเราจึงต้องวางแผนการรับประทานอาหาร ควรเลือกแต่อาหารที่มีไขมัน และคอเลสเตอรอลต่ำเท่านั้น
เบาหวาน
โรคเบาหวาน คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของระดับน้ำตาลที่อยู่ในเลือด มีสาเหตุมาจากร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ ซึ่ง อินซูลิน เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่เป็นตัวนำน้ำตาลออกจากเลือดไปยังเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย เมื่อผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน หรือมีภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานาน ก็อาจเป็นสาเหตุให้เกิดการทำลายผนังภายในของหลอดเลือด อีกทั้งยังไปกระตุ้นให้เกิดคราบสะสมเกาะภายในผนังหลอดเลือดอีกด้วย
ไลฟ์สไตล์แบบนั่งอยู่กับที่ (Sedentary lifestyle)
การที่ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจได้ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายเป็นอย่างมาก อาทิ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง ช่วยให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ที่สำคัญ ยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ควบคุมน้ำหนักตัว และยังช่วยลดความเครียดได้อีกด้วย การนั่งอยู่กับที่นานๆ โดยที่ไม่ขยับเขยื้อนไปไหนก็ยิ่งทำให้ร่างกายและสุขภาพยิ่งแย่ ดังนั้น จึงควรจึงขยับ หรือเดินไปเดินมาบ้าง จะช่วยทำให้ร่างกายผ่อยคลายมากขึ้น
ชนิดของโรคหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคกล้ามเนื้อหัวใจพิการ หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบที่เกิดจากไวรัส
โรคลิ้นหัวใจพิการจากไข้รูมาติก
โรคลิ้นหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อ
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
โรค หรือความพิการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ
5 พฤติกรรมเสี่ยงโรคหัวใจ
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้หลอดเลือดหัวใจเสื่อมสภาพ เกิดได้จาก 2 ปัจจัย ได้แก่ 1. ปัจจัยเสี่ยงทางร่างกายที่สามารถป้องกันได้ คือโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และการสูบบุหรี่ 2.พันธุกรรม ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันหรือแก้ไขไม่ได้ แต่การป้องกันโรคดีและสำคัญกว่าการรักษาโรค โดยห่างไกลได้ด้วยการเลี่ยง 5 พฤติกรรมเหล่านี้
1. การรับประทานอาหารไขมันสูง ไขมันทรานส์ - อาหารคอเลสเตอรอลสูง เช่น เค้ก เบเกอรี่ เนื้อสัตว์ติดมัน ชีส อาหารสำเร็จรูป ฟาสต์ฟู้ด ขาหมู หมูสามชั้น หนังสัตว์ทอด แกงกะทิมันๆ ต่างๆ และอาหารปิ้งย่าง เมื่อรับประทานอาหารประเภทนี้เข้าไปในปริมาณมาก และต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูง คอเลสเตอรอลสูงจนไปอุดตันในหลอดเลือดหัวใจทำให้หลอดเลือดตีบและอุดตัน และเกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้
2. น้ำหนักเกิน (ภาวะอ้วน) - การปล่อยให้ตัวเองมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ซึ่งมีค่า BMI มากกว่า 30 มีอัตราเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังและเป็นอันตรายต่อการทำงานของหัวใจเป็นอย่างมาก ตั้งแต่ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน และโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งมักจะเกิดจากการมีไขมันเกาะในหลอดเลือดมาก ส่งผลให้การไหลเวียนโลหิตติดขัด กระทั่งหัวใจขาดเลือด และเสียชีวิตอย่างกะทันหัน นอกจากนี้ภาวการณ์อ้วนลงพุง โดยผู้หญิงที่มีรอบเอวมากกว่า 40 นิ้ว และผู้ชายที่มีรอบเอวมากกว่า 45 นิ้ว ต้องระวังตนเองเป็นพิเศษ เนื่องจากรอบเอวที่ใหญ่เกินไป ส่งผลถึงสุขภาพหัวใจด้วย
3. ภาวะความเครียดมากเกินไป - ผู้ที่มีความเครียดมากๆ และเครียดอยู่เป็นประจำคือ กลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจเต้นผิดปกติมากที่สุด เพราะความเครียดจะไปกระตุ้นให้หัวใจทำงานหนักขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น จนอาจเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ รวมไปถึงอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคหลอดเลือดแดงแข็งตัว ซึ่งเป็นภาวะที่หลอดเลือดแดงมีไขมัน มีการอักเสบต่างๆ มาเกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือด ก่อให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดแดง และเสี่ยงต่อภาวะหัวใจขาดเลือดได้
4. ขาดการออกกำลังกาย และพักผ่อนไม่เพียงพอ - หากหัวใจไม่เคยได้ออกกำลัง ก็จะทนต่อการทำงานหนักไม่ไหว เมื่อใดที่เราอยู่ในภาวะหัวใจต้องทำงานหนักแต่หัวใจรับไม่ไหว ก็จะทำให้หัวใจล้มเหลวได้ ซึ่งออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพียงวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน เป็นตัวช่วยให้หัวใจได้ออกกำลัง เสริมสร้างความแข็งแรงให้กับหัวใจ พร้อมใช้งานหนักได้มากขึ้น
รวมทั้งผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือน้อยกว่า 6 ชั่วโมง/วัน เสี่ยงป่วยเป็นโรคหัวใจ เนื่องจากการพักผ่อนไม่เพียงพอนั้นจะทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน และส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งทำให้เสี่ยงเป็นโรคหัวใจเพิ่มขึ้น
5. สูบบุหรี่ - หลายคนอาจจะคิดว่าการสูบบุหรี่ทำให้เป็นมะเร็งที่ปอดเท่านั้น จริงๆ แล้วบุหรี่เป็นสาเหตุที่สำคัญของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เนื่องจากควันบุหรี่มีสารพิษหลายชนิดที่เป็นอันตรายต่อหลอดเลือดหัวใจ ได้แก่ นิโคติน และคาร์บอนมอนอกไซด์ จะทำให้หลอดเลือดหัวใจหดตัว มีการจับตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดหัวใจตีบลง จนเกิดภาวะหัวใจขาดออกซิเจน เส้นเลือดหัวใจตีบ เมื่อเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่ได้ จะเกิดอาการจุกเสียด เจ็บหน้าอก โดยเฉพาะเวลาออกกำลังกาย มีโอกาสเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันจนเสียชีวิตได้โดยไม่รู้ตัว
ภาวะแทรกซ้อนของโรคหัวใจ
โรคหัวใจชนิดต่าง ๆ อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่แตกต่างกัน ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยที่สุด คือ หัวใจล้มเหลว เกิดขึ้นได้จากโรคหัวใจทุกชนิด ส่วนภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ อาจขึ้นอยู่กับโรคหัวใจที่ผู้ป่วยเป็นด้วย เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน
ส่วนกลุ่มโรคหลอดเลือดหัวใจอาจตามมาด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดในสมองขาดเลือด โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ และโรคหลอดเลือดแดงโป่งพอง ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้สามารถนำไปสู่การเสียชีวิตอย่างฉับพลันได้
ต้องดูแลตัวเองยังไงเมื่อเป็นโรคหัวใจ ?
ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
รับประทานยาชนิดต่างๆ ที่แพทย์แนะนำอย่างถูกต้อง ครบถ้วน
หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกที่มีไขมัน โดยเฉพาะไขมันที่ได้จากสัตว์
ควบคุมอาหาร รับประทานแต่อาหารที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกายเท่านั้น
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแร็ง ไม่เป็นโรคอ้วน
รักษาสุขภาพกายและสุขภาพจิตด้วยสุขอนามัยพื้นฐาน ลดความเครียดลง
ดูแลและควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้โรคหัวใจกำเริบ หรือเป็นหนักขึ้น
เดินทางไปพบแพทย์ตามวันและเวลานัดเสมอ
ทานอาหารเสริมโพรไบโอติกช่วยให้เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ควบคุมระดับคอลเลสเตอรอล
BioSyn ซินไบโอติกปรับสมดุลลำไส้ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และดูดซึมวิตามินได้ดี เมื่อเราทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ หรืออาหารบำรุงหัวใจ ตัวโพรไบโอติกใน BioSyn ก็จะช่วยดูดซึมสารอาหารเหล่านั้นไปใช้งานได้ดีมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยควบคุมคอลเลสเตอรอลที่เป็นปัจจัยทำให้เป็นโรคหัวใจได้นั่นเองค่ะ ด้วยโพรไบโอติก 15 สายพันธุ์ และพรีไบโอติกอีก1สายพันธุ์ มีจำนวนจุลินทรีย์ดีมากถึง 20 พันล้านCFU ซื้อสุขภาพดีให้ตัวเองหรือคนที่เรารัก เพื่อที่จะได้มีร่างกายที่เเข็งเเรงไปนานๆนะคะ
รับคำแนะนำด้านสุขภาพ และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญฟรี
Line : https://line.me/R/ti/p/@283kqubv
Inbox : m.me/BioSynThailand
Youtube : https://bit.ly/3Fyj83C
เรียบเรียง : BioSyn Thailand
เครดิต : https://shorturl.asia/4GzJP
https://shorturl.asia/6ZeOq
https://shorturl.asia/1U6Xt
4 ก.ย. 2567
12 ก.ย. 2567
12 ก.ย. 2567