Last updated: 7 มิ.ย. 2567 | 544 จำนวนผู้เข้าชม |
กันไว้ดีกว่าแก้ อาการภูมิแพ้อาหารแฝง
ภูมิแพ้อาหารแฝง เป็นภาวะหรืออาการที่เกิดจากภูมิคุ้มกัน (Antibody) ชนิด IgG (Immunoglobulin G) ที่ร่างกายสร้างมาต่อต้านอาหารที่รับประทานเข้าไป ซึ่งเป็นคนละชนิดกับการแพ้อาหารแบบเฉียบพลัน ส่วนมากอาการที่แสดงออกมาจะไม่รุนแรงและจะไม่เกิดในทันทีหลังรับประทานอาหาร แต่อาจเกิดหลังจากนั้นไปแล้วหลายชั่วโมงหรือข้ามวัน ทำให้หลายคนมองข้ามอาการของภูมิแพ้อาหารแฝงนี้ไป
โรคภูมิแพ้อาหาร มี 2 ประเภท
ความต่างของ…ภูมิแพ้อาหารแฝง กับ อาการแพ้อาหาร
เชื่อว่าหลายคนอาจเข้าใจผิดว่า “ภูมิแพ้อาหารแฝง” กับ “อาการแพ้อาหาร” นั้นเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ที่จริงแล้ว ทั้ง 2 ภาวะนี้มีความต่างกันที่ทุกคนควรรู้ไว้นั่นก็คือ
อาการแพ้อาหาร
ส่วนใหญ่จะมีอาการแบบเฉียบพลัน หรือภายใน 2-4 ชั่วโมงหลังจากรับประทานอาหารบางอย่างเข้าไป แล้วร่างกายไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานมากกว่าปกติจึงแสดงปฏิกิริยาออกมา เช่น เกิดผื่นคันตามร่างกาย ตาบวม ปากบวม หรือหากมีอาการรุนแรงอาจเกิดภาวะช็อก หายใจติดขัด จนถึงขั้นเสียชีวิตได้
อาการของภูมิแพ้อาหารแฝง
มักจะไม่แสดงอาการในทันที และมีอาการหลากหลาย เช่น
– ปวดศีรษะเรื้อรัง ปวดไมเกรน
– ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และปวดตามข้อต่างๆ
– อ่อนเพลีย
– ท้องอืด จุกเสียด แน่นท้อง
– ท้องผูกสลับกับท้องเสีย
– เป็นสิวอักเสบตามร่างกาย เช่น ใบหน้า ตามตัว บริเวณหลัง และแขนขา
ดูเเลเเละป้องกัน ก่อนเป็นภูมิแพ้อาหารแฝง
ดูแลสุขภาพระบบลำไส้ โดยการหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป เช่น อาหารประเภท Fast Food หรือ Junk Food ร่วมกับการให้ระบบย่อยอาหารและสำไส้ได้หยุดพักเป็นระยะหรือการฝึกกินแบบ Intermittent Fasting หรือ Prolonged Fasting
* การปรับสมดุลของเชื้อจุลินทรีย์ชนิดดี ภายในระบบย่อยอาหารและลำไส้ เพราะ 70% ของภูมิคุ้มกันร่างกายอยู่ที่ “ลำไส้” ถ้าคุณมีสุขภาพลำไส้ที่ดีเท่ากับว่า คุณมีชีวิตที่ดีไปกว่าครึ่งที่จะไม่ต้องเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง รวมถึงภูมิแพ้อาหารด้วย เริ่มการสร้างภูมิคุ้มกันที่สำคัญนี้ได้จากการบริโภคอาหารที่อุดมด้วยเส้นใยจากผัก ผลไม้ และวัตถุดิบอาหารธรรมชาติปรุงเอง ช่น พืชใบเขียว ธัญพืชหรือถั่วเปลือกแข็ง (ที่ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ GMO) กล้วย หัวหอมใหญ่ กระเทียม เป็นต้น ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อเป็นอาหารให้เหล่าพันธมิตรเชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้คุณ จะช่วยฟื้นฟูอาการแพ้อาหารผ่านกลไกอันซับซ้อน
* การเกิดภูมิแพ้อาหารแฝง (Food Intolerance) จะเกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหารและลำไส้มากกว่าระบบภูมิคุ้มกัน จะไม่แสดงอาการในทันทีและไม่มีความรุนแรง การเกิดภูมิแพ้อาหารแฝงจะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่สามารถย่อยอาหารบางชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การแพ้แลคโตส การแพ้กลูเตน การแพ้น้ำตาล เป็นต้น
* ระวังสารพิษสารโลหะหนักหรือเชื้อโรคที่ปนเปื้อน ที่มากับอาหารรวมถึงความเสี่ยงต่อการอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เกิดมลพิษหรือมีสารเคมีปนเปื้อน หากเลี่ยงไม่ได้คุณต้องป้องกันตนเองให้ดีที่สุดที่ลดการสัมผัส สูดดม หรือการบริโภคอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อน
* ตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง ร่วมกับการตรวจประเมินสุขภาพประจำปี เพื่อประเมินหาสาเหตุอาการและแนวทางการป้องกัน เพื่อการดูแลสุขภาพและวางแผนการใช้ชีวิตได้อย่างเหมาะสมและลดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพได้
การฟื้นฟูเยื่อบุลำไส้โดยวิธีการธรรมชาติ คือ “การให้ระบบย่อยอาหารและสำไส้ได้หยุดพัก” หยุดการกินและย่อยอาหารในระยะเวลาหนึ่ง ทำได้ด้วยการฝึกกินและอดอาหารเป็นระยะ (Intermitent fasting “IF”) และการทำ (Prolonged fasting “PF”) ซึ่งการฝึกกินแบบ IF และ PF ได้อย่างปลอดภัยจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ระหว่างนั้นควรกินอาหารทีเป็นธรรมชาติและมีโภชนาการที่ดี เช่น กินผักใบเขียวเพื่อรับใยอาหารประมาณ 25-38 กรัม ทุกๆ วัน งดอาหารประเภท Fast Food/Junk Food อาหารรสหวาน อาหารทอดผัดผ่านความร้อนสูง หรืออาหารที่ผ่านการกระบวนการแปรรูปหรือใช้สารเคมีปรุงแต่งอาหารหรือที่ผสมวัตถุกันเสีย กินอาหารที่เสริมสร้างโปรไบโอติกเพื่อให้แบคทีเรียในลําไส้มีสุขภาพดี ออกกําลังกายเป็นประจําเพื่อให้ระบบทางเดินอาหารแข็งแรง เลิกสูบบุหรี่และงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
กลุ่มเสี่ยงต่อภาวะภูมิแพ้อาหารแฝง
* ผู้ที่มีเป็นโรคภูมิแพ้หรืออาการผิดปกติเรื้อรังต่างๆ หลังมื้ออาหาร
* ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังที่มีลำไส้รั่วซึมเป็นสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับโรคต่างๆ (Leaky Gut Syndrome)
* ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง (SLE)
* ผู้ที่มีปัญหาโรคเรื้อรังที่มีลำไส้รั่วซึมเป็นสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับโรคต่างๆ (Leaky Gut Syndrome)
* ผู้ที่มีความเครียดสะสม
* ผู้ที่ปัญหาด้านผิวพรรณ เช่น สิวอักเสบเรื้อรัง ผื่นคัน ผิวบวมน้ำ กลากเกลื้อน ผิวคล้ำ เป็นต้น
* ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักโดยการเลือกกินอาหารประเภทต่างๆ
* ผู้ที่ทำงานอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษหรือสารเคมีปนเปื้อน
ภูมิแพ้อาหารเเฝงเเตกต่างจากภูมิเเพ้อาหารเฉียบพลันยังไง
ภูมิแพ้อาหารแบบเฉียบพลัน (Food Allergy)
เป็นผลมาจากปฏิกิริยาของระบบภูมิคุ้มกันต่ออาหารที่เฉพาะเจาะจง จะเกิดขึ้นหลังจากกินอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งไปสักระยะจนถึงภายใน 1 ชั่วโมง ที่ส่งผลต่ออาการแพ้ที่แสดงให้เห็นค่อนข้างรุนแรงจนถึงเป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น การแพ้อาหารทะเล ที่จะก่อให้เกิดอาการรุนแรงตามมาอย่างทันที เช่น ระคายเคืองช่องปาก ลำคอ แสบจมูก ตาอักเสบแดง ปาก มือ เท้ามีอาการบวมน้ำ เกิดลมพิษพุพองหรือผื่นคันตามตัว คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วง แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก และไปจนถึงอาการช็อก หมดสติ และอาจถึงแก่ชีวิตได้
ภูมิแพ้อาหารประเภทนี้คุณจำเป็นต้องระมัดระวังอาหารที่ก่อให้เกิดอาการข้างเคียงอย่างรุนแรง และควรได้รับการประเมินสาเหตุหรือได้รับการรักษาอาการแพ้อย่างเร่งด่วนจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ
ภูมิแพ้อาหารแบบแบบแฝง (Food Intolerance)
จะเกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหารและลำไส้มากกว่าระบบภูมิคุ้มกัน และจะไม่แสดงอาการในทันทีและไม่มีความรุนแรง แต่จะค่อยๆ แสดงอาการหรือเป็นอาการเรื้อรังเป็นๆ หายๆ อาการดังต่อไปนี้จะส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย เช่น
- ระบบผิวหนัง สิวอักเสบเรื้อรัง ผิวแห้ง ปากแตก ติดเชื้อราเป็นๆ หายๆ เช่น กลาก เกลื้อน มีผื่นคัน หรือโรคสะเก็ดเงิน ลมพิษ ผิวมีรอยจ้ำ บวมน้ำ
- ระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ จาม คัดจมูก แสบจมูก น้ำมูกไหล ไซนัสอักเสบ หอบหืด
- ระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก ท้องร่วง จุกเสียดท้อง ลำไส้แปรปรวน ลำไส้ระคายเคือง (IBS) ลำไส้อักเสบ (Crohn’s disease)
- ระบบกระดูกและข้อต่อ ปวดข้อ เข่าหรือบริเวณข้อต่ออักเสบ มีอาการปวดร้าวเรื้อรัง
- ระบบประสาทและสมอง ปวดศีรษะเรื้อรัง ปวดไมเกรน โรคซึมเศร้า เบลอ สมาธิสั้น เหน็บชาปลายมือ ขา หลังมื้ออาหาร นอนไม่หลับ
- อาการอื่นๆ เช่น ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดผันผวน ปวดเมื่อยตัว ตะคริว ตาแดง ปวดประจำเดือนอย่างรุนแรง เรอเปรี้ยว ผายลมมีกลิ่นคล้ายไข่เน่า เหงื่อออกอย่างต่อเนื่องโดยไม่ทราบสาเหตุ เป็นต้น
โดยภูมิแพ้อาหารแบบแบบแฝงอาจจะยังคงภาวะอาการเรื้อรังและไม่รุนแรง แต่ถ้าหากไม่ได้รับการดูแลรักษา ปล่อยไว้ในระยะยาวก็ส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม ที่จะทำให้คุณมีสุขภาพที่มีลักษณะที่เจ็บป่วยบ่อย สุขภาพดูไม่แข็งแรงและไม่สดชื่นเท่าที่ควรจะเป็น ในที่นี้เราขอแนะนำการตรวจเกี่ยวกับภูมิแพ้อาหารแบบแฝงที่คุณสามารถป้องกันและรักษาอาการของโรคเรื้อรังต่างๆได้ในเบื้องต้น
“ภูมิแพ้อาหารแฝง” ตรวจหาได้ เพื่อการป้องกันและลดความเสี่ยง
การตรวจหาภูมิแพ้อาหารแฝง นอกจากการสังเกตความผิดปกติของร่างกายที่เกิดหลังจากรับประทานอาหารแล้ว เราจะทำร่วมกันกับการตรวจหาภูมิแพ้อาหารแฝงโดยการเจาะเลือดไปตรวจหาสารแอนติบอดี้ IgG (Immunoglobulin G) หากภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อสารอาหารที่ทดสอบชนิดใด ก็สามารถบอกได้ว่าผู้เข้ารับการตรวจมีภาวะแพ้อาหารแฝงชนิดนั้นๆ อยู่
“การตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง” ช่วยให้เราหลีกเลี่ยงอาหารบางประเภทที่เรามีโอกาสแพ้ได้ ซึ่งหากเราไม่เคยรู้ เราก็จะรับประทานอาหารชนิดนั้นๆ อยู่บ่อยๆ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อร่างกายของเราได้ในหลายระดับโดยที่เราจะไม่รู้เลยว่าเกิดจากภาวะภูมิแพ้อาหารแฝง ทำให้เรามีพฤติกรรมบริโภคอาหารชนิดนั้นๆ ต่อไป แล้วก็เกิดภาวะที่ส่งผลเสียต่อร่างกายไปเรื่อยๆ
เพราะในร่างกายของแต่ละคน…มีการตอบสนองต่ออาหารที่แตกต่างกัน เราจึงควรรู้จักร่างกายของเราให้มากที่สุด เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวเราเอง
วิธีการรักษาอาการภูมิแพ้อาหารแฝง ?
วิธีการรักษานั้นปลอดภัยมาก และไม่จำเป็นต้องใช้ยาอะไรเลย หากพบภูมิแพ้อาหารแฝง เพียงหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่แพ้ประมาณ 3-6 เดือนเท่านั้น หลังจากนั้นสามารถกลับไปรับประทานอาหารนั้นได้ตามปกติ ต่างจากภูมิแพ้อาหารชนิดเฉียบพลัน ที่ไม่สามารถกลับไปรับประทานอาหารชนิดที่แพ้ได้อีก ถึงแม้ว่าจะสามารถกลับไปรับประทานใหม่ได้ ก็ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม และควรรับประทานอาหารให้หลากหลาย เป็นการกระจายความเสี่ยง ทั้งในแง่การรับสารพิษตกค้าง สารปนเปื้อน รวมถึง ภูมิแพ้อาหารแฝง ด้วยเช่นกัน
ถึงเเม้ว่า ภูมิเเพ้อาหารแฝง จะไม่เป็นอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต แต่ในระยะยาวก็ส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม ดังนั้น หากสงสัยว่าตัวเองกำลังมีภาวะดังกล่าว ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจหา และรับคำปรึกษาในการปรับอาหารให้เหมาะสม เพื่อสร้างสมดุลสุขภาพที่ดีในระยะยาว
รับคำแนะนำด้านสุขภาพ และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญฟรี
Line : https://line.me/R/ti/p/@283kqubv
Inbox : m.me/BioSynThailand
Youtube : https://bit.ly/3Fyj83C
เรียบเรียง : BioSyn Thailand
เครดิต : https://shorturl.asia/X65cl
https://shorturl.asia/pBZ3F
12 ก.ย. 2567
12 ก.ย. 2567
4 ก.ย. 2567