ภัยเงียบของผู้สูงวัยกับระบบทางเดินอาหาร

Last updated: 19 มิ.ย. 2566  |  372 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ภัยเงียบของผู้สูงวัยกับระบบทางเดินอาหาร

ภัยเงียบของผู้สูงวัยกับระบบทางเดินอาหาร

        ทุกคนรู้ไหมว่า “ระบบทางเดินอาหาร” เป็นอีกระบบหนึ่งที่สำคัญของร่างกายมนุษย์เรา โดยเฉพาะในวัยผู้สูงอายุ ที่เมื่อมีอายุที่เพิ่มขึ้น ระบบต่างๆ ในร่างกายก็จะเสื่อมลงไปตามการเวลา โดยระบบของทางเดินอาหารนี้ หากมองเผินๆ หลายๆ คนอาจมองว่าเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับท้องหรือลำไส้เท่านั้น แต่เเท้จริงแล้วการที่ผู้สูงวัยสักคนจะมีปัญหาเรื่องระบบย่อยอาหารหรือทางเดินอาหารได้นั้น ไม่จำเป็นต้องมีปัญหามาจากกระเพาะของพวกท่านอย่างเดียว แต่บุตรหลานต้องดูแลตั้งแต่สุขภาพช่องปากและระบบอื่นๆด้วยนะคะ

การดูดซึมอาหารลดลง! เมื่ออายุเพิ่มขึ้น

         เมื่ออายุเพิ่มขึ้น ระบบต่างๆในร่างกายจะเปลี่ยนไป เช่น ลำไส้จะดูดซึมแคลเซียมได้น้อยลง, การดูดซึมโปรตีนและการสร้างกล้ามเนื้อลดลง ทำให้แม้จะกินเท่ากับตอนหนุ่มสาว แต่ร่างกายกลับได้สารอาหารลดลง

ระบบอื่นๆ ที่สัมพันธ์กับทางเดินอาหาร

1. ช่องปากและฟัน เยื่อบุช่องปาก

เยื่อบุช่องปากบางลง แต่ยังสามารถแบ่งตัวเป็นปกติ น้ำลายจากต่อมน้ำลายลดลงบ้าง เนื้อฟันในผู้สูงอายุจะลดความทึบลง เหงือกร่นลงจากคอฟัน เนื่องจากความเสื่อมของ alveolar bone ขณะที่กระดูกขากรรไกรหดลงเรื่อย ๆ ทำให้ฟันเริ่มโยกคลอนได้ง่าย

2. หลอดอาหาร
การไหลผ่านของอาหารจากลำคอสู่กระเพาะอาหารช้าลง เนื่องด้วย ความเสื่อมโทรมของร่างกาย

3. กระเพาะอาหาร
โดยเมื่อผู้สูงวัยมีอายุที่มากขึ้น น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารก็จะมีความเป็นกรดลดลง

4. ตับ
น้ำหนักของตับจะลดลงถึง 25 % จากอายุ 20 ปี ถึง 70 ปี เนื่องจากเซลล์ตับลดจำนวนลง ปริมาณเลือดที่ไหลเวียนผ่านตับจึงลดได้ถึง 35 % จากอายุ 20 ปี ถึง 90 ปี ทำให้การกำจัดยาที่เข้าสู่ร่างกาย ช้าลง ผู้สูงอายุจึงมีความโน้มเอียงในการเกิดพิษจากยาและแอลกอฮอล์ได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป

5. ลำไส้
มีการเคลื่อนตัวช้าลง ทำให้ท้องผูกได้ง่าย ส่วนความสามารถในการดูดซึมอาหารไม่ลดลง โดยเฉพาะการดูดซึมไขมันไม่แตกต่างไปจากคนวัยหนุ่มสาว แต่การดูดซึมคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนลดลงเล็กน้อย

เมื่อ “ทางเดินอาหารของผู้สูงอายุ” มีปัญหา ระบบอื่นๆ ก็มีปัญหาตามไปด้วย

เริ่มต้นจากปากไปหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีหลากหลายอวัยวะที่ต้องทำหน้าที่ร่วมกัน และนั่นจึงหมายถึง เมื่อร่างกายของผู้สูงอายุมีปัญหา ก็จะส่งผลต่อหลายอวัยวะเช่นเดียวกัน

1. กลืนลำบาก
สาเหตุก็มาจากการบีบตัวของหลอดอาหารอ่อนแอลงไป รวมทั้งเส้นประสาทที่มาหล่อเลี้ยงก็เสื่อมลงตามวัยทำให้บีบตัวผิดปกติ ทำให้กลืนแล้วติดแน่น ๆ หน้าอก ในบางรายอาจมีอาการเจ็บ และอาจสำลักได้ในกรณีที่แย่ที่สุด

2. ท้องผูก
แท้จริงแล้ว ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพแข็งแรงก็ไม่ได้มีท้องผูกมากมายอะไร แต่ในรายที่มีอาการท้องผูกมากๆ มักเป็นผู้สูงอายุที่ต้องนอนในโรงพยาบาลนานๆ หรือมีโรคภัยที่ทำให้เคลื่อนไหวไม่ค่อยได้ , ไม่มีแรงเบ่งอุจจาระ (เช่น โรคถุงลมโป่งพอง) หรือกินยาบางอย่างเป็น ประจำ เช่น ยาเสริมธาตุเหล็ก เป็นต้น

3. เลือดออกจากทางเดินอาหารส่วนต้น
โดยสาเหตุหลักๆ มักมาจาก แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ กระเพาะอาหารอักเสบ หลอดอาหารอักเสบ จะมีลักษณะอาการที่ผู้สูงอายุอาเจียนเป็นน้ำสีกาแฟ หรือถ่ายอุจจาระดำ เนื่องจากผู้สูงอายุมีเลือดออกจากทางเดินอาหารส่วนต้นแล้วนั่นเอง

4.กระเพาะอาหาร
ถ้าเป็นโรคไม่ว่าจะเป็นจากทางกายหรือทางใจจะทำให้ผู้สูงอายุมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียนได้

5.หลอดอาหาร
เกิดโรคกลืนอาหารแล้วรู้สึกติด มีความรู้สึกมีอะไรค้างอยู่ที่คอหอย หรือทรวงอกรู้สึกอึดอัดซึ่งในคนแก่มักเกิดโรคมะเร็ง 70-80%

ลำไส้จะแข็งแรงได้อย่างไร? 

         ผนังลำไส้เป็นที่ดูดซึมอาหารเข้าไปในกระแสเลือด แต่หากลำไส้อ่อนแอ ก็อาจเกิดช่องว่างระหว่างเซลล์ให้เชื้อโรคเล็ดลอดเข้ากระแสเลือดได้ง่าย ลำไส้จึงมีจุลินทรีย์ชนิดดี ที่เรียกว่า โพรไบโอติก (PROBIOTIC) อยู่หลายพันชนิด กระจายอยู่ทั่วลำไส้ ปกคลุมและปกป้องเซลล์ลำไส้จากเชื้อโรคที่ไม่ดี โพรไบโอติกทำหน้าที่หลักๆ 3 อย่าง

1. โพรไบโอติกจะปกคลุม และช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อโรคแทรกเข้าไปในกระแสเลือด
และยังช่วยย่อยบางสารอาหาร แล้วส่งต่อให้แก่เซลล์ลำไส้ เพิ่มพลังให้ เซลล์ลำไส้แข็งแรงขึ้น

2. โพรไบโอติกจะปล่อยสารที่เป็นกรดอ่อน ๆ ออกมา ฆ่าเชื้อเชื้อโรคชนิดไม่ดี

3. โพรไบโอติกจะส่งสัญญาณกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (เม็ดเลือดขาว) ในเนื้อเยื่อน้ำเหลืองใต้ลำไส้ ให้ทำงานดีขึ้น และการทำงานที่ดีขึ้นนี้เองจึง เชื่อมโยงกับระบบภูมิคุ้มกันทั้งปอด และผิวหนัง

แนวทางการดูแลผู้สูงอายุให้ห่างไกลจากปัญหาทางเดินอาหาร   


ด้านอาหาร ระบบนี้เริ่มต้นตั้งแต่ ช่องปาก หลอดอาหาร กระเพราะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ซึ่งผู้สูงอายุ ระบบย่อยและการดูดซึมสารอาหารจะไม่สมบูรณ์แล้ว ประกอบกับการบดเคี้ยว การสบของฟัน หรือ มีปัญหาสุขภาพช่องปาก อาจส่งผลให้การเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด ประสิทธิภาพของน้ำย่อย ปริมาณน้ำย่อย และการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารและลำไส้ถดถอย เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย การย่อยการดูดซึมสารอาหารไม่สมบูรณ์ และอาจทำให้ท้องผูกตามมา   ดังนั้น ผู้สูงอายุ จึงควรรับประทานอาหารที่ย่อยง่ายๆ รสชาดไม่จัดและให้ครบทั้ง 5 หมู่ และสัดส่วนของอาหารที่พอเหมาะ ลดเค็ม ลดหวาน ลดชา กาแฟ  ลดแอลกอฮอล์


ด้านระบบขับถ่าย ผู้สูงอายุมักมีปัญหาระบบขับถ่าย ทั้งถ่ายหนัก ถ่ายเบา กล่าวคือ อาจมีปัญหากลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะเล็ด อันเนื่องจากการเสื่อมของกล้ามเนื้อหูรูดกระเพราะปัสสาวะ โดยผู้หญิงสูงอายุ จะมีปัญหามากกว่าผู้ชายสูงอายุ อันเนื่องจาก  ขาดฮอร์โมนเพศ จากภาวะหมดประจำเดือน   หรือมีปัญหาท้องผูกง่าย ท้องเสียง่าย หรือภาวะลำไส้แปรปรวน ดังนั้น สุขอนามัย จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก    แนวทางการปฏิบัตตัวของผู้สูงอายุ เพื่อสุขภาวะที่ดีของการขับถ่าย


ด้านการออกกำลังกาย ด้วยความเสื่อมถอยของร่างกายของผู้สูงอายุ กล้ามเนื้อแขน ขา และความแข็งแรง ความยืดหยุ่นของกระดูก และข้อต่อต่างๆนั้นลดน้อยถอยลงไปมาก  ผู้สูงอายุจึงต้องระวังตัวเองให้ห่างไกลการเกิดอุบัติเหตุ และควรออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและ ยืดหยุ่นได้ดี


ด้านสุขภาพจิตใจ จากที่กล่าวไปข้างต้นว่า หากผู้สูงอายุมีปัญหาด้านสุขภาพจิต ก็จะทำให้เกิดอาการเบื่ออาหารตามมาด้วย ดังนั้น บุตรหลานจึงควรดูแลในเรื่องของสุขภาพจิตใจของผู้สูงอายุที่บ้านให้ดี ให้ท่ารู้สึกถึงความเป็นที่รักและเป็นที่พึ่งพิงให้กับลูกหลาน จะทำให้ท่านภูมิใจในตนเองและมีความสุขมากขึ้น

อายุเพิ่มขึ้น แต่แข็งแรงได้ ยุคนี้ต้องแข็งแรงทั้งร่างกาย แข็งแรงทั้งภูมิคุ้มกัน

        แพทย์พบว่า เมื่อให้ผู้ใหญ่เสริมอาหารสูตรครบ 5 หมู่ ที่มีโพรไบโอติกจะช่วยให้การทำงานของเม็ดเลือดขาวสูงกว่าคนที่ไม่ได้ทาน และเมื่อแพทย์ติดตามผลดื่มต่อเนื่อง 1 ปี พบการติดเชื้อโดยรวม ลดลงกว่า 41% (ติดเชื้อทางเดินหายใจ, ทางเดินอาหาร, ผิว, ทางเดินปัสสาวะ) (งานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ JPEN, สหรัฐอเมริกา)


ดูแลลำไส้ให้แข็งแรง พร้อมกันใน 1 แคปซูล กับ BioSyn อาหารเสริมช่วยดูเเลเเละปรับสมดุลลำไส้ได้อย่างครบถ้วน

        ผู้เชี่ยวชาญจาก BioSyn จึงพัฒนา อาหารเสริมที่มีโพรไบโอติก เสริมภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ยังมีใยอาหารสูง เนื่องจากสะกัดจากผักเเละไฟเบอร์จากผลไม้  พัฒนาตามหลักโภชนาการเพื่อผู้ใหญ่โดยเฉพาะ ผ่านกรมวิธีการผลิตภายใต้นวัตกรรม SYNTEX ที่ได้มาตรฐานระดับโลก ในสาขานวัตกรรมการผลิตโพรไบโอติกสำหรับใช้ในทางการเเพทย์



นวัตกรรม SYNTEX ทำให้จุลินทรีย์

สามารถทนต่อกรด ไม่ถูกทำลายในกระเพาะอาหารก่อนไปถึงลำไส้
ทนความเป็นด่าง ไม่ถูกทำลายโดยน้ำดี
มีจำนวนจุลินทรีย์คงเหลือปริมาณมากเเละสามารถยึดเกาะผนังลำไส้ได้ดี


รับคำแนะนำด้านสุขภาพ และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญ
Inbox : m.me/BioSynThailand
Line : https://line.me/R/ti/p/@283kqubv
Youtube : https://bit.ly/3Fyj83C

เรียบเรียง : BioSyn Thailand
ขอบคุณข้อมูลจาก : NESTLÉ HEALTH SCIENCE /  โรงพยาบาลพระราม9 / รักษ์คุณ โฮมแคร์ 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้