Last updated: 7 มิ.ย. 2567 | 364 จำนวนผู้เข้าชม |
“ย่อย-เกราะ-ต้าน-ซ่อม” กับประโยชน์ Probiotic มากมายที่คุณคาดไม่ถึง
ก่อนอื่นเลยเรามาทำความรู้จักกันก่อนดีกว่าค่ะว่าโพรไบโอติก พรีไบโอติก เเละซินไบโอติก คืออะไร หลายๆคนอาจจะยังไม่รู้จัก หรือหลายๆคนก็เคยได้ยินชื่อคุ้นหูมากันบ้างเเล้ว เเล้วมีใครรู้มั้ยคะว่าโพรไบโอติกหรือจุลินทรีย์ดีมีคุณสมบัติในการช่วย ย่อย-เกราะ-ต้าน-ซ่อม เเล้วช่วยยังไงตามไปหาคำตอบกันได้เลยค่ะ
Probiotic คืออะไร
โดยปกติแล้วร่างกายของเรามีจุลินทรีย์อยู่มากมาย โดยเฉพาะในระบบทางเดินอาหาร มีทั้งจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และจุลินทรีย์ที่ก่อโรค “Probiotics” คือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ก่อโรค ในลำไส้ ลดการเกิดท้องเสีย ลดการอักเสบและอาการผิดปกติอื่นๆ ของลำไส้ เช่น ท้องอืด แน่นท้อง ป้องกันมะเร็งลำไส้ ส่งเสริมการดูดซึมสารอาหาร ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเป็นต้น การมี Probiotics ที่เพียงพอในลำไส้ช่วยให้เกิดความสมดุล และลดโอกาสการเกิดโรคได้
แหล่งอาหารที่มี Probiotics : เกิดจากอาหารที่ผ่านกระบวนการหมักบางชนิด เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ มิโซะ
Prebiotic คืออะไร
Prebiotics เป็นอาหารของ Probiotics เป็นแหล่งพลังงานและช่วยในการเจริญเติบโตช่วยให้จุลินทรีย์Probioticsแข็งแรงและมีปริมาณมากพอที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ เมื่อกินเข้าไป ไม่ถูกย่อยในระบบทางเดินอาหาร ร่างกายไม่สามารถดูดซึมได้
แหล่งอาหารที่มี Prebiotics: พบในน้ำนมแม่ พืช ผัก ผลไม้ ที่มีใยอาหารมาก เช่น เซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส อินูลิน เพคติน ฟรุคโตโอลิโกแซ็คคาไรค์ ตัวอย่างอาหารที่เป็นแหล่งของ Prebiotics
Synbiotic คืออะไร
Synbiotics คือ การนำโปรไบโอติก (Probiotics) ที่เป็นจุลินทรีย์ที่ดีต่อลำไส้ และพรีไบโอติก (Prebiotics) ซึ่งเป็นแหล่งใยอาหารของ Probiotics ผสานเข้าด้วยกันจึงช่วยเสริมฤทธิ์ ทำให้การทำงานของ Probiotics เพิ่มขึ้นนั่นเอง เมื่อรวมโปรไบโอติกและพรีไบโอติกไว้ในผลิตภัณฑ์อาหารเดียวกัน เราเรียกผลิตภัณฑ์นั้นว่าผลิตภัณฑ์ ที่มี “ซินไบโอติก (Synbiotics)” ซึ่งหมายความว่าหากใส่แต่โปรไบโอติก จะไม่สามารถเรียกว่าสูตรซินไบโอติกได้ ต้องมีการผสานเข้ากับพรีไบโอติกด้วย
การทำงานของโพรไบโอติก ย่อย-เกราะ-ต้านโรค-ซ่อมบำรุง
ย่อย -ช่วยในเรื่องของการย่อย การเผาผลาญ คนที่มีจุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่ไม่สมดุล การเผาผลาญ การดูดซึมสารอาหารก็ทำได้ไม่ดี รวมไปถึงการสังเคราะห์ด้วย เนื่องจากจุลินทรีย์ในลำไส้ช่วยในเรื่องของการสังเคราะห์วิตามิน K,B12,B18
เกราะ - ตามผนังลำไส้นั้นจะมีจุลินทรีย์เกาะเต็มไปหมด ทำให้ผนังลำไส้เเข็งเเรงมากยิ่งขึ้น ทำให้เเบคทีเรียก่อโรคไม่สามารถมาทำร้ายได้
ต้านโรค - เม็ดเลือดขาวจะสามารถเเยกได้ว่าจุลินทรีย์ดีกับไม่ดีต่างกันยังไง จึงเป็นเหมือนทหารที่ช่วยต้านจุลินทรีย์ที่ไม่ดีออกจากร่างกาย
ซ่อมบำรุง -จุลินทรีย์ดีจะช่วยผนังลำไส้ผลิตสารที่เคลือบผนังลำไส้เเละช่วยซ่อมบำรุงเซลล์ผนังลำไส้ต่างๆ
Probiotic ช่วยอะไร และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง
ประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร Probiotics มีส่วนสำคัญที่ใช้ในทางการแพทย์ เพื่อการรักษาและป้องกันภาวะลำไส้อักเสบ ไม่ว่าจะเป็นอาการท้องเสีย โรคลำไส้แปรปรวน ภาวะลำไส้อักเสบจากการที่ได้รับยาปฏิชีวนะ แม้กระทั่งภาวะท้องผูกเรื้อรังก็พบว่าการใช้ Probiotics มีส่วนทำให้ภาวะต่าง ๆ นี้ดีขึ้น
ประโยชน์ของโพรไบโอติกที่มีต่อร่างกาย ?
ช่วยรักษาสมดุลในระบบย่อยอาหาร ช่วยรักษาสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกายที่เสียไป
กระตุ้นการย่อยอาหารด้วยการสร้างเอนไซม์หลายชนิด
สร้างสารป้องกันไม่ให้เชื้อก่อโรคจับที่ผิวเยื่อบุลำไส้ โดยการสร้างเกราะป้องกันบริเวณเยื่อบุลำไส้
ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อฉวยโอกาสในร่างกาย
มีประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร ป้องกัน และบรรเทาอาการลำไส้แปรปรวน ท้องร่วง ท้องผูก เป็นต้น
ปรับสมดุลภูมิคุ้มกันของร่างกาย
ลดการอักเสบ และติดเชื้อ เช่น ในระบบทางเดินปัสสาวะ และช่องคลอด
BioSyn ซินไบโอติกเจ้าแรกในไทยที่รวมเอาจุลินทรีย์ดีกว่า 15 สายพันธุ์ ‼ บรรจุโพรไบโอติกร่วมกับพรีไบโอติก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลลำไส้ให้กับคุณ ด้วยนวัตกรรมการผลิตเฉพาะของ BioSyn ที่อาหนิงคัดสรรมาด้วยตัวเอง ผ่านการยอมรับจากสถาบันวิจัยระดับโลก อย่าง SYNTEK ทำให้ได้โพรไบโอติกคุณภาพเยี่ยม สามารถทนต่อสภาวะกรด - ด่าง ในทางเดินอาหารได้อย่างดี แค่เพียง 1 แคปซูล ก็มีโพรไบโอติกถึง 20 Billion CFU ซึ่งเพียงพอต่อการช่วยปรับสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ เมื่อลำไส้ดี ก็ทำให้เชื้อโรคต่างๆ ไม่สามารถแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายได้โดยง่ายอีกด้วย อีกทั้งยังมั่นใจในความปลอดภัยเนื่องจาก BioSyn ของเรามีใบรับรองจาก อ.ย. เเละผลิตจากโรงงานที่ได้มาตรฐานระดับ GMP และ ISO 22000 ปลอดภัยมั่นใจได้เลยค่ะ เริ่มต้นดูแลสุขภาพให้ดี เริ่มต้นที่ลำไส้ ใช้ผลิตภัณฑ์ BioSyn นะคะ
เรียบเรียงโดย : BioSyn Thailand
ขอบคุณข้อมูลจาก : เเพทย์หญิงธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล เเพทย์ด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย ผู้เขียนหนังสือ “ Microbiota อวัยวะที่ถูกลืม ”
12 ก.ย. 2567
4 ก.ย. 2567
12 ก.ย. 2567