Last updated: 7 มิ.ย. 2567 | 671 จำนวนผู้เข้าชม |
ทาน "โพรไบโอติก" อย่างไรให้ได้ผลดี
ก่อนอื่นเลยเรามาทำความรู้จักกันก่อนดีกว่าค่ะว่าโพรไบโอติกคืออะไร หลายๆคนอาจจะยังไม่รู้จัก หรือเคยได้ยินชื่อคุ้นๆหูมากันบ้างเเล้ว เเต่ถ้าจะเอาให้ชัวร์วันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกคนมาให้ลองไปศึกษาดูกันได้เลยนะคะ
Probiotic คือ จุลินทรีย์ชนิดที่ดีต่อร่างกาย โดยจะพบโพรไบโอติก ได้ในระบบทางเดินอาหาร ลำไส้ รวมไปถึงช่องคลอด แต่นอกจากในร่างกายเราแล้วยังพบได้ในอาหารอย่างโยเกิร์ต นมเปรี้ยว กิมจิ หรือมิโสะ ว่าแต่การกินโพรไบโอติกช่วยอะไร ดียังไงต่อร่างกาย เรามีข้อมูลดี ๆ มาไขข้อข้องใจค่ะ
Probiotic มีประโยชน์ต่อร่างกายยังไง
เพิ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และลดปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค
ช่วยให้ขับถ่ายได้เป็นปกติทุกวัน ลดอาการท้องผูกและท้องเสีย
ช่วยลดอาการลำไส้แปรปรวน และอาการกรดไหลย้อน
ช่วยในการย่อยและดูดซึมสารอาหาร
ลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ
ช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
ป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
เสริมสร้างภูมิต้านทาน
ลดอาการข้างเคียงจากยาปฏิชีวนะ
ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง
รู้จักโพรไบโอติกไปแล้ว ก็จะเคยได้ยินชื่อพรีไบโอติกด้วยใช่ไหมคะ เเล้ว2ตัวนี้มันต่างกันยังไงนะ ?
โพรไบโอติกต่างกับพรีไบโอติกยังกันยังไง
โพรไบโอติก (Probiotics) เป็นจุลินทรีย์ขนาดเล็กซึ่งจัดเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ชนิดดี สามารถพบได้ในอาหาร เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ มิโสะ เป็นต้น ผู้เชี่ยวชาญด้านทางเดินอาหาร ให้คำจำกัดความว่า โพรไบโอติกส์ คือ “จุลินทรีย์ที่มีชีวิต เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะทำให้สุขภาพดีในภาวะต่างๆ โดยเป็นจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติทนต่อกรดและด่าง สามารถจับที่บริเวณผิวของเยื่อบุลำไส้แล้วผลิตสารต่อต้านหรือกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ รวมถึงก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพได้”
พรีไบโอติก (Prebiotics) คืออาหารชนิดหนึ่ง เป็นสิ่งไม่มีชีวิต ซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อยและดูดซึมได้ที่ลำไส้เล็ก อาหารเหล่านี้จึงสามารถเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ได้ในรูปไม่เปลี่ยนแปลง และจะถูกย่อยสลายโดยแบคทีเรียโพรไบโอติก ทำให้กระตุ้นการเจริญเติบโตและการทำงานของแบคทีเรีย พบได้ในหัวหอม กระเทียม ถั่วเหลือง ถั่วแดง ไฟเบอร์ในผักและผลไม้ต่าง ๆ เป็นต้น
กล่าวง่ายๆ ก็คือ พรีไบโอติกเป็นอาหารของโพรไบโอติกนั่นเอง ดังนั้นหากรับประทานอาหารพวกพรีไบโอติกก็จะช่วยส่งเสริมฤทธิ์โพรไบโอติกได้ดียิ่งขึ้นนั่นเองค่ะ
โพรไบโอติกทานตอนไหนควรทานปริมาณเท่าไรดีถึงเห็นผล
การทานโพรไบโอติกให้ได้ผลต้องทานคู่กับพรีไบโอติก พอได้ฟังแบบนี้หลายคนก็จะสงสัยแล้วว่ามันเกี่ยวข้องกันยังไง เพราะจริงๆ โพรไบโอติกเปรียบเสมือนทหารที่พร้อมรบกับเชื้อโรคที่ปะปนเข้ามาในร่างกาย แต่ทหารจะมีแรงสู้รบก็ต้องมีเสบียงอาหารหรือพรีไบโอติกด้วยจะได้มีแรงไปสู้รบกับเชื้อโรค เมื่อมีทั้งทหาร (โพรไบโอติก) กับเสบียงอาหาร (พรีไบโอติก) รวมกันแล้วจะเรียกว่า ซินไบโอติก เมื่อกินคู่กันก็จะทำให้กองกำลังทหารของเราทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โพรไบโอติกมีผลข้างเคียงไหม
โดยส่วนใหญ่มักพบเมื่อมีการรับประทานในขนาดที่สูงเกินไป โดยอาจจะทำให้เกิดภาวะลมในท้องเพิ่มขึ้น เกิดท้องอืดหรือแน่นท้องได้ ควรรับประทานในปริมาณที่พอดีนะคะ
จะรู้ได้อย่างไรว่าโพรไบโอติกที่ทานไปได้ผล
จริงๆ แล้วเราสามารถสังเกตตัวเองได้ง่ายๆ จากอาการที่เรามี เช่น ท้องผูกเรื้อรัง ท้องเสีย ท้องอืด หากร่างกายได้รับโพรไบโอติกเข้าแล้วจะต้องช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวให้เราได้ หรือทำให้อาการดังกล่าวดีขึ้น โพรใบโอติก (Probiotics) เป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทั้งชนิดแบคทีเรียและยีสต์ ซึ่งมีวางจำหน่ายทั่วไป แต่อาจเป็นโพรไบโอติกสายพันธุ์ที่ไม่ตรงกับความต้องการของแต่ละบุคคล การตรวจจุลินทรีย์จึงเป็นการตรวจเพื่อดูว่าร่างกายของเรากำลังขาดโพรไบโอติกสายพันธุ์ชนิดใด Gut Microbiome DNA จึงเป็นการตรวจเพื่อวัดระดับจุลินทรีย์ในร่างกาย เพื่อที่จะได้เสริมโพรไบโอติกในสายพันธุ์ และสัดส่วนที่เหมาะสมกับร่างกายของเรามากที่สุด
วิธีเลือกซื้อโพรไบโอติก
1. ประกอบไปด้วยเชื้ออะไรบ้าง
โพรไบโอติกส่วนใหญ่ที่มีหลักฐานการวิจัยทางคลินิกมักจะมาจากเชื้อแบคทีเรียในตระกูล Lactococcus ตระกูล Lactobacillus และ ตระกูล Bifidobacterium
2. มีเชื้อกี่ชนิด และเชื้อแต่ละตัว มีหลักฐานการวิจัยทางการแพทย์ในด้านอะไรบ้าง
หลังจากที่พิจารณาตระกูลของเชื้อแล้ว ก็ควรดูในระดับสปีชีส์ พบว่า เชื้อในตระกูลเดียวกัน แต่คนละสปีชีส์ ก็จะมีบทบาทและหน้าที่ที่แตกต่างกัน เช่น บางตัวจะออกฤทธิ์โดยการไปแย่งที่กับเชื้อโรคจับกับผนังลำไส้โพรไบโอติกบางตัวจะสร้างสารต้านเชื้อโรคที่เรียกว่าbacterocinมากำจัดเชื้อโรคบางตัวจะสามารถสร้าง วิตามินและเอ็นไซม์ที่จำเป็นต่างๆต่อร่างกาย เช่น วิตามิน B, Folic acid, growth factor, ..เป็นต้น นอกจากนี้ ยังพบว่า การมีหลายๆเชื้อ เช่น มากกว่า 2 เชื้อขึ้นไป จะให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่า
3. มี ใยอาหาร หรือ พรีไบโอติก หรือไม่
พบว่า การมีพรีไบโอติกหรือใยอาหาร จะช่วยเสริมฤทธิ์กับโพรไบโอติก ทำให้เชื้อเจริญเติบโตที่ลำไส้ได้รวดเร็วขึ้น
4. ผลิตจากบริษัทหรือโรงงานมาตรฐานหรือไม่
ควรผลิตจากโรงงานที่ได้มาตรฐาน ระดับ GMP และ ISO 9001
5. ได้รับการรับรองจาก อ.ย.
ควรผ่านการพิจารณาจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญพิจารณาถึงคุณภาพและความปลอดภัย
6. ได้รับการรับรองให้ใช้ในโรงเรียนแพทย์และคลินิกชั้นนำหรือไม่
โรงเรียนแพทย์และโรงพยาบาลชั้นนำ จะมีขั้นตอนในการพิจารณาเลือกเวชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพและความปลอดภัยต่อผู้ป่วย โดยส่วนใหญ่มักจะมีขั้นตอนอย่างน้อย 3 ขั้นตอน ตั้งแต่ระดับอนุกรรมการผู้เชี่ยวชาญ จนถึง คณะกรรมการยาและการบำบัด
7. อุณหภูมิในการเก็บรักษา
พบว่า จะสัมพันธ์กับเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตถ้าใช้มาตรฐานการผลิตที่สูง ก็จะสามารถเก็บได้จนถึงที่อุณหภูมิห้อง โดยที่เชื้อยังมีชีวิตอยู่
8. ปริมาณเชื้อ
ควรมีปริมานเชื้ออย่างน้อย หนึ่งพันล้านตัวขึ้นไป
BioSyn ซินไบโอติกเจ้าแรกในไทยที่รวมเอาจุลินทรีย์ดีกว่า 15 สายพันธุ์ ‼ บรรจุร่วมกับพรีไบโอติก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลลำไส้ให้กับคุณ ด้วยนวัตกรรมการผลิตเฉพาะของ BioSyn ที่อาหนิงคัดสรรมาด้วยตัวเอง ผ่านการยอมรับจากสถาบันวิจัยระดับโลก อย่าง SYNTEK ทำให้ได้โพรไบโอติกคุณภาพเยี่ยม สามารถทนต่อสภาวะกรด - ด่าง ในทางเดินอาหารได้อย่างดี แค่เพียง 1 แคปซูล ก็มีโพรไบโอติกถึง 20 Billion CFU ซึ่งเพียงพอต่อการช่วยปรับสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ เมื่อลำไส้ดี ก็ทำให้เชื้อโรคต่างๆ ไม่สามารถแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายได้โดยง่ายอีกด้วย อีกทั้งยังมั่นใจในความปลอดภัยเนื่องจาก BioSyn ของเรามีใบรับรองจาก อ.ย. เเละผลิตจากโรงงานที่ได้มาตรฐานระดับ GMP และ ISO 22000 ปลอดภัยมั่นใจได้เลยค่ะ เริ่มต้นดูแลสุขภาพให้ดี เริ่มต้นที่ลำไส้ ใช้ผลิตภัณฑ์ BioSyn นะคะ
รับคำแนะนำด้านสุขภาพ และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง
แอดไลน์ BioSyn วันนี้รับฟรี 1แต้ม มีส่วนลดมากมาย
Line: https://line.me/R/ti/p/@283kqubv
12 ก.ย. 2567
4 ก.ย. 2567
12 ก.ย. 2567